วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แนวคิดเทคนิคการเรียนการสอน

แนวคิดเทคนิคการเรียนการส

แนวคิดเทคนิคการเรียนการสอน


หลัก 3 ประการของการเรียนการสอนแบบออนไลน์
(Key of Online Learning)


         บทความนี้จะกล่าวถึง หลัก 3 ประการในการเตรียมความพร้อมของผู้สอนในการเตรียมตัวสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) โดยเฉพาะการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online Learning) ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบหลักดังกล่าวนี้ เป็นส่วนที่สำคัญสำหรับผู้สอนในการนำมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) โดยเฉพาะโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในขณะนี้คือ ห้องเรียน DLIT, Google Apps for education, Office 365 ผู้สอนควรมีหลัก 3 ประการดังนี้

1. การเตรียมการเชิงรุก (Proactive) 

     1.1 ความรู้ความเข้าใจในหลักสูตร (Know your course) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานมาจากผู้เรียนที่ท่านได้ทำการสอนมาแล้ว เช่น ปัญหาในการสอน ปัญหาในการเรียน ข้อคำถาม ข้อเสนอแนะต่างๆ ในชั้นเรียนของท่าน เพื่อนำมาใช้เป็นหลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป

     1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน (Seek information about your students) การค้นหา เก็บข้อมูลของผู้เรียน ทั้งในแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการะบวนการจัดการเรียนการสอน แบบออนไลน์ ท่านควรจะต้องรู้ว่า ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนไหม สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสะดวกมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรการสอนของท่าน ว่าผู้เรียนรู้สึกอย่างไรในการเรียน ผู้เรียนพูดคุย กันในเรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับวิธีการสอนและหลักสูตรออนไลน์ของท่าน เพื่อที่จะได้นำมาใช้ช่วยเหลือ หรือเพิ่มเติมให้ผู้เรียนในครั้งต่อไป

     1.3 ความรู้สึกดีในครั้งแรก (Good sense) ผู้สอนควรสร้างความรู้สึกที่ดีในครั้งแรกที่เข้าเรียนในหลักสูตร เช่น กล่าวคำตอนรับในหน้าแรก หรือการสร้างความประทับใจด้วยข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน เช่น ชื่อเล่น วันเกิด หรือสิ่งที่ผู้เรียนชื่นชอบ

     1.4 โพสต์ประกาศสม่ำเสมอ (Post regular announcements) ผู้สอนควรโพสต์ประกาศแจ้งข้อมูล

ข่าวสาร หรือความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้เรียน ร่วมไปถึงวันที่จะครบกำหนดของกิจกรรมต่างๆ ที่มีประโยชน์สำหรับผู้เรียน เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ทราบกำหนดการต่างๆ ในการจัดการภาระงานตามที่ได้รับมอบหมาย และส่งงานได้ทันตามกำหนดเวลา

     1.5 มีการติดต่อสื่อสารอย่างชัดเจนกับนักเรียนที่ขาดหายไป (Communicate clearly with students on missing) ผู้สอนควรมีการออกแบบระบบการติดตามผู้เรียนที่ขาดหายไปจากระบบการเรียนการสอนออนไลน์ โดยอาจมีการประสานกับผู้เรียนโดยตรง หรือผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ด้วยวิธีการส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าเรียนด้วยกระบวนการกลุ่มย่อยร่วมกับเพื่อในชั้นเรียน หรือสอบถามและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อลดข้อผิดพลาดในการเข้าเรียน หรือทำกิจกรรมในห้องเรียนออนไลน์ครั้งต่อไป

2.ความเป็นมืออาชีพ (Professional)

     2.1 การตอบสนองตลอดเวลา (Timely responses are expected) ผู้สอนควรมีการปฏิสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลากับผู้เรียน โดยเฉพาะเมื่อมีข้อคำถาม ข้อสงสัย หรือการสอบถาม แจ้งปัญหาการใช้งานต่างๆ ในขณะที่ผู้เรียน กำลังเรียนอยู่ หากผู้เรียนได้รับการตอบสนองในทันที หรืออย่างช้าไม่ควรเกิด 1 วัน การปฏิสัมพันธ์อย่างรวดเร็วจะส่งผลให้เกิดผลดีต่อความรู้สึกของผู้เรียน ทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ ในชั้นเรียนออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จ

     2.2 กำหนดเวลาในการทำงาน (Office Hours) ผู้สอนควรกำหนดเวลานัดหมายในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาในการทำงานหรือกิจกรรมร่วมกันผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น skype, Line, FaceTime

     2.3 การโพสต์ และการมอบหมายภารกิจที่ชัดเจน (Create a standard of quality assignments and postings) ผ่านรูปแบบการสื่อสารออนไลน์ที่มีความเหมาะสม มีความถูกต้องสอดคล้องกับความพร้อมของผู้เรียนในการรับข้อมูลข่าวสารจากการการโพสต์ และการมอบหมายภารกิจ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถรู้และเข้าได้ในทันทีโดยที่ไม่ต้องตีความ การโพสต์และการมอบหมายภารกิจที่ดี มีคุณภาพจะทำให้กิจกรรม หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตามเป้าหมายที่ผู้สอนได้วางไว้

     2.4 ใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมืออาชีพ (Use professional language) ผู้สอนควรใช้ภาษาในการสื่อสารกับผู้เรียนด้วยความรอบคอบและครอบคุมทุกประเด็นของกิจกรรมอย่างมืออาชีพ ควรงดการใช้ภาษาที่ใช้คำย่อและสั้น ทำให้สื่อความหมายไม่ชัดเจน ไม่ตรงกับสิ่งที่จะสื่อออกไป ส่งผลให้ผู้เรียนสับสนหรือต้องตีความหมายจากภาษาที่ใช้คำย่อและสั้น ส่งผลให้ภารกิจหรือกิจกรรมอาจล้มเหลว หรือได้ผลงานที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของภารกิจ ดังนั้นการใช้ภาษาในการสื่อสารที่ดีควรกระชับได้ใจความ ตรงประเด็นไม่สั้น ไม่ยาวจนเกินไป

3. สร้างความน่าสนใจ (Personable)

     3.1 ในการตอบคำถามหรือข้อสงสัยของผู้เรียน ผู้สอนควรเลือกใช้คำตอบที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมกำลังใจและความรู้สึกที่ดีให้กับผู้เรียน โดยเพิ่มเติมข้อเสนอแนะในการให้คำตอบกับผู้เรียน

     3.2 ผู้สอนควรตั้งคำถามจากมุมมองของผู้สอน เพื่อสื่อสารแนวทางใหม่ ประเด็นใหม่ หรือชี้นำให้ผู้เรียนได้เกิดความคิด หรือข้อสงสัยเพื่อนำไปสู่การค้นหาความรู้ใหม่ของผู้เรียน

3.3 การให้ผลตอบกลับ ไม่ว่าจะเป็นการติ หรือการชมจากผู้สอน ควรให้ความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้สอนต้องรู้และเข้าใจถึงระดับในการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นในการให้ผลย้อนกลับไปถึงผู้เรียน ผู้สอนควรมีข้อเสนอแนะที่มีความแตกต่างกันจากผลการทำงานของผู้เรียนแต่ละคน หรือกลุ่มผู้เรียน โดยอาจให้ผลตอบกลับเป็นการส่วนตัวกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้และเข้าใจในกิจกรรม หรือภารกิจที่แตกต่างกันมากยิ่งขึ้น

3.4 ควรมีการแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมที่อาจนำไปสู่ความลึกซึ้งของเนื้อหามากยิ่งขึ้นจากกิจกรรมในระหว่างการจักการเรียนการสอน

สรุป

     ในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) โดยเฉพาะแบบออนไลน์(Online) ผู้สอนควรมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ที่มีความแตกต่างกันของผู้เรียน โดยผู้สอนต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนบนสภาพแวดล้อมแบบออนไลน์ (Online Learning Environment) สำหรับใช้ในการโน้มน้าวให้ผู้เรียนมีความสนุก มีความสนใจอยากเข้ามาเรียนรู้ หรือทำกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแนวทางดังกล่าวเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้สอนได้รู้ เข้าใจ และให้ความสำคัญกับการให้กำลังใจผู้เรียน เพื่อให้การนำการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online Learning) มาใช้เกิดประโยชน์และได้ผลสัมฤทธิ์ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้สอน

ที่มา 
Karen Barnstable. (2012). Three “P”s of Online Instruction  (Online) https://kbarnstable.wordpress.com/2012/09/05/three-ps-of-online-instruction/ สืบค้นเมื่อ 30 ก.ย. 2558

ความสำเร็จในการปฏิรูปการ


ความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21


  • ผลผลิตของครู คือ “ศักยภาพที่สูงขึ้นของผู้เรียน” ไม่เหมือกับผลผลิตของเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่เป็น “วัตถุสิ่งของ” 
  • แต่ผลผลิตของคุณครูและโรงเรียน เป็นคน “ที่มีจิตวิญญาณ และ แนวความคิด”..ซึงจิตวิญญาณและแนวความคิดนี้ เกิดจากการหล่อหลอมของสังคม อย่างที่เรียกว่า Social Negotiation 
  • และสังคมของคุณครูในวันนี้ “ได้สูญเสียเอกลักษณ์ไทย Thai Identity” คือ “ความเป็นพี่น้อง Affinity ขาดหายไป”.. . “ความกลมเกลียวกัน Love harmony ขาดหายไป” 
  • สิ่งเหล่านี้เป็นผลทำให้โรงเรียน “ขาดเอกภาพ Lack of Unity” อันเป็นต้นตอของความล้มเหลวทั้งมวลของการบริการจัดการในโรงเรียน..
  • และกล้ารับรองได้เลยว่า “การใช้พระเดช คืออำนาจการบริหาร หรือ Executive powers”กับคุณครูเพียงอย่างเดียวนั้น คือ “ความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง หรือ Failure entirely”...

  • ในการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อการศึกษาของศตวรรษที่ 21.จึงต้อง 
    • เปลียนแนวคิดของผู้บริหารสถาน ศึกษาเป็นเรื่องแรก Change the concept of school administrators first.
    • เปลี่ยนการสอนของครู Change Teaching Approach 
    • และ เปลี่ยนวิธีเรียนของนักเรียน Change the way of Learning 
    • นี้เรียกว่า “การปรับปรุงสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ ก่อนการเปลี่ยนแปลง"
หลักปฏิบัติ 12.ประการ สำหรับผู้บริการสถานศึกษา 

  • ผู้อำนวยการโรงเรียน “ควรต้องทำ Should be” หากต้องการความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21.

  • 1. An effective school leader leads by example ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็น “ผู้นำทำก่อน” ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง leads by example เช่น ความพยายามทุกทางในการยกระดับการเรียนรู้ มีน้ำใจเอื้ออาทรดูแลทุกข์สุขของบุคลากรและนักเรียนทุกคนด้วยหลักเมตตาธรรม สิ่งเหล่านี้ไม่มีในตำรา แต่มันเป็น “ทักษะชีวิต Life Skill” ของมนุษย์ เห็นความคิดต่างเป็นอุปกรณ์สร้างปัญญา เป็นนักสมานสามัคคี เป็นนักกิจกรรมการเรียนรู้..เป็นบุคคลตัวอย่างแห่งการเรียนรู้..เป็นพี่เป็นน้องตามควรแก่ฐานะและความเหมาะสม ฯ.
  • 2. An effective school leader has a shared vision ผู้นำสถานศึกษา “ต้องเป็นนักแชร์วิสัยทัศน์ shared vision” นี้เป็นหลักการสำคัญ เปรียบว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” และ “เป้าหมายที่เราต้องร่วมรบให้ชนะ We Need to win the battle” คือ อุปสรรคที่ขัดขวางความเจริญงอกงามทางการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน นั่นเอง
  • 3. An effective school leader is well respected ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องใช้ประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาของตน”สร้างการ “ยอมรับ Well Respected” ไม่ใช่ “อำนาจการบริหาร”
  • 4. An effective school leader is a problem solver ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องเป็นนักแก้ปัญหา problem solver”ร่วมกับคณะครู “มิใช่นักสั่งการแก้ไข Not a Fixed Order เพราะรากเง้าของปัญหาจะยังคงอยู่ และสร้างปัญหาอีกต่อไปไม่จบสิ้น”
  • 5. An effective school leader is selfless ผู้นำสถานศึกษา “ต้องไม่เห็นแก่ตัว Selfless” 
  • 6. An effective school leader is an exceptional listener ผู้นำสถานศึกษา “ต้องเป็นผู้ฟังที่ยอดเยี่ยม exceptional listener”และสามารถแสดง “วิสัยทัศน์ Point of View”ของตนอย่างแจ่มชัด
  • 7. An effective school leader adapts ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสามารถ “ปรับตัว”ให้เขากับสถานการณ์ และสิ่งแวดลอม ได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข
  • 8. An effective school leader understands individual strengths and weaknesses. ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องเข้าใจ จุดอ่อน และจุดแข็ง Strengths and Weaknesses”ของทั้งตนเองและผู้อื่น เพื่อ “ใช้คน ให้เหมาะกับงาน Put the Right Man on the Right Job.”
  • 9. An effective school leader makes those around them better ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีต้อง “พยายามทำให้คนรอบข้างมีแต่ความสุขความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน”
  • 10. An effective school leader admits when they make a mistake ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดี “ต้องยอมรับสภาพความผิดในฐานะหัวหน้างาน” เมื่อผู้ให้บังคับบัญชาทำผิด
  • 11. An effective school leader holds others accountable ผู้นำสถานศึกษาที่ดี “ต้องร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้มอบหมายให้ผู้อื่นทำ Holds Others Accountable”
  • 12. An effective school leader makes difficult decisions ผู้นำสถานศึกษา “เป็นผู้ตัดสินใจในสถานการณ์ที่ยากลำบาก makes difficult decisions”ภายใต้หลักการ “ ระดมความคิด หรือ Brainstorming กับผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสมและจริงใจ

ขอบคุณข้อมูล สุทัศน์ เอกา...........................บอกความ



แนวคิดเทคนิคการเรียนการสอน

แนวคิดเทคนิคการเรียนการส



แนวคิดเทคนิคการเรียนการสอน


หลัก 3 ประการของการเรียนการสอนแบบออนไลน์
(Key of Online Learning)


         บทความนี้จะกล่าวถึง หลัก 3 ประการในการเตรียมความพร้อมของผู้สอนในการเตรียมตัวสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) โดยเฉพาะการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online Learning) ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบหลักดังกล่าวนี้ เป็นส่วนที่สำคัญสำหรับผู้สอนในการนำมาใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) โดยเฉพาะโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในขณะนี้คือ ห้องเรียน DLIT, Google Apps for education, Office 365 ผู้สอนควรมีหลัก 3 ประการดังนี้

1. การเตรียมการเชิงรุก (Proactive) 

     1.1 ความรู้ความเข้าใจในหลักสูตร (Know your course) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานมาจากผู้เรียนที่ท่านได้ทำการสอนมาแล้ว เช่น ปัญหาในการสอน ปัญหาในการเรียน ข้อคำถาม ข้อเสนอแนะต่างๆ ในชั้นเรียนของท่าน เพื่อนำมาใช้เป็นหลักสูตรในการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป

     1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียน (Seek information about your students) การค้นหา เก็บข้อมูลของผู้เรียน ทั้งในแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการะบวนการจัดการเรียนการสอน แบบออนไลน์ ท่านควรจะต้องรู้ว่า ผู้เรียนมีความพร้อมในการเรียนไหม สามารถเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสะดวกมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรการสอนของท่าน ว่าผู้เรียนรู้สึกอย่างไรในการเรียน ผู้เรียนพูดคุย กันในเรื่องอะไรบ้างเกี่ยวกับวิธีการสอนและหลักสูตรออนไลน์ของท่าน เพื่อที่จะได้นำมาใช้ช่วยเหลือ หรือเพิ่มเติมให้ผู้เรียนในครั้งต่อไป

     1.3 ความรู้สึกดีในครั้งแรก (Good sense) ผู้สอนควรสร้างความรู้สึกที่ดีในครั้งแรกที่เข้าเรียนในหลักสูตร เช่น กล่าวคำตอนรับในหน้าแรก หรือการสร้างความประทับใจด้วยข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียน เช่น ชื่อเล่น วันเกิด หรือสิ่งที่ผู้เรียนชื่นชอบ

     1.4 โพสต์ประกาศสม่ำเสมอ (Post regular announcements) ผู้สอนควรโพสต์ประกาศแจ้งข้อมูล

ข่าวสาร หรือความก้าวหน้าในด้านต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้เรียน ร่วมไปถึงวันที่จะครบกำหนดของกิจกรรมต่างๆ ที่มีประโยชน์สำหรับผู้เรียน เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ทราบกำหนดการต่างๆ ในการจัดการภาระงานตามที่ได้รับมอบหมาย และส่งงานได้ทันตามกำหนดเวลา

     1.5 มีการติดต่อสื่อสารอย่างชัดเจนกับนักเรียนที่ขาดหายไป (Communicate clearly with students on missing) ผู้สอนควรมีการออกแบบระบบการติดตามผู้เรียนที่ขาดหายไปจากระบบการเรียนการสอนออนไลน์ โดยอาจมีการประสานกับผู้เรียนโดยตรง หรือผ่านสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ด้วยวิธีการส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าเรียนด้วยกระบวนการกลุ่มย่อยร่วมกับเพื่อในชั้นเรียน หรือสอบถามและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เพื่อลดข้อผิดพลาดในการเข้าเรียน หรือทำกิจกรรมในห้องเรียนออนไลน์ครั้งต่อไป

2.ความเป็นมืออาชีพ (Professional)

     2.1 การตอบสนองตลอดเวลา (Timely responses are expected) ผู้สอนควรมีการปฏิสัมพันธ์อยู่ตลอดเวลากับผู้เรียน โดยเฉพาะเมื่อมีข้อคำถาม ข้อสงสัย หรือการสอบถาม แจ้งปัญหาการใช้งานต่างๆ ในขณะที่ผู้เรียน กำลังเรียนอยู่ หากผู้เรียนได้รับการตอบสนองในทันที หรืออย่างช้าไม่ควรเกิด 1 วัน การปฏิสัมพันธ์อย่างรวดเร็วจะส่งผลให้เกิดผลดีต่อความรู้สึกของผู้เรียน ทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนต่างๆ ในชั้นเรียนออนไลน์ให้ประสบผลสำเร็จ

     2.2 กำหนดเวลาในการทำงาน (Office Hours) ผู้สอนควรกำหนดเวลานัดหมายในการทำงานร่วมกันระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาในการทำงานหรือกิจกรรมร่วมกันผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต ผ่านทางโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น skype, Line, FaceTime

     2.3 การโพสต์ และการมอบหมายภารกิจที่ชัดเจน (Create a standard of quality assignments and postings) ผ่านรูปแบบการสื่อสารออนไลน์ที่มีความเหมาะสม มีความถูกต้องสอดคล้องกับความพร้อมของผู้เรียนในการรับข้อมูลข่าวสารจากการการโพสต์ และการมอบหมายภารกิจ ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถรู้และเข้าได้ในทันทีโดยที่ไม่ต้องตีความ การโพสต์และการมอบหมายภารกิจที่ดี มีคุณภาพจะทำให้กิจกรรม หรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายสำเร็จตามเป้าหมายที่ผู้สอนได้วางไว้

     2.4 ใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมืออาชีพ (Use professional language) ผู้สอนควรใช้ภาษาในการสื่อสารกับผู้เรียนด้วยความรอบคอบและครอบคุมทุกประเด็นของกิจกรรมอย่างมืออาชีพ ควรงดการใช้ภาษาที่ใช้คำย่อและสั้น ทำให้สื่อความหมายไม่ชัดเจน ไม่ตรงกับสิ่งที่จะสื่อออกไป ส่งผลให้ผู้เรียนสับสนหรือต้องตีความหมายจากภาษาที่ใช้คำย่อและสั้น ส่งผลให้ภารกิจหรือกิจกรรมอาจล้มเหลว หรือได้ผลงานที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของภารกิจ ดังนั้นการใช้ภาษาในการสื่อสารที่ดีควรกระชับได้ใจความ ตรงประเด็นไม่สั้น ไม่ยาวจนเกินไป

3. สร้างความน่าสนใจ (Personable)

     3.1 ในการตอบคำถามหรือข้อสงสัยของผู้เรียน ผู้สอนควรเลือกใช้คำตอบที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมกำลังใจและความรู้สึกที่ดีให้กับผู้เรียน โดยเพิ่มเติมข้อเสนอแนะในการให้คำตอบกับผู้เรียน

     3.2 ผู้สอนควรตั้งคำถามจากมุมมองของผู้สอน เพื่อสื่อสารแนวทางใหม่ ประเด็นใหม่ หรือชี้นำให้ผู้เรียนได้เกิดความคิด หรือข้อสงสัยเพื่อนำไปสู่การค้นหาความรู้ใหม่ของผู้เรียน

3.3 การให้ผลตอบกลับ ไม่ว่าจะเป็นการติ หรือการชมจากผู้สอน ควรให้ความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้สอนต้องรู้และเข้าใจถึงระดับในการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นในการให้ผลย้อนกลับไปถึงผู้เรียน ผู้สอนควรมีข้อเสนอแนะที่มีความแตกต่างกันจากผลการทำงานของผู้เรียนแต่ละคน หรือกลุ่มผู้เรียน โดยอาจให้ผลตอบกลับเป็นการส่วนตัวกับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้และเข้าใจในกิจกรรม หรือภารกิจที่แตกต่างกันมากยิ่งขึ้น

3.4 ควรมีการแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมที่อาจนำไปสู่ความลึกซึ้งของเนื้อหามากยิ่งขึ้นจากกิจกรรมในระหว่างการจักการเรียนการสอน

สรุป

     ในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) โดยเฉพาะแบบออนไลน์(Online) ผู้สอนควรมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ที่มีความแตกต่างกันของผู้เรียน โดยผู้สอนต้องใช้ศาสตร์และศิลป์ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนบนสภาพแวดล้อมแบบออนไลน์ (Online Learning Environment) สำหรับใช้ในการโน้มน้าวให้ผู้เรียนมีความสนุก มีความสนใจอยากเข้ามาเรียนรู้ หรือทำกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแนวทางดังกล่าวเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะทำให้ผู้สอนได้รู้ เข้าใจ และให้ความสำคัญกับการให้กำลังใจผู้เรียน เพื่อให้การนำการเรียนรู้แบบออนไลน์ (Online Learning) มาใช้เกิดประโยชน์และได้ผลสัมฤทธิ์ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้สอน

ที่มา 
Karen Barnstable. (2012). Three “P”s of Online Instruction  (Online) https://kbarnstable.wordpress.com/2012/09/05/three-ps-of-online-instruction/ สืบค้นเมื่อ 30 ก.ย. 2558

ความสำเร็จในการปฏิรูปการ

ความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21


  • ผลผลิตของครู คือ “ศักยภาพที่สูงขึ้นของผู้เรียน” ไม่เหมือกับผลผลิตของเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่เป็น “วัตถุสิ่งของ” 
  • แต่ผลผลิตของคุณครูและโรงเรียน เป็นคน “ที่มีจิตวิญญาณ และ แนวความคิด”..ซึงจิตวิญญาณและแนวความคิดนี้ เกิดจากการหล่อหลอมของสังคม อย่างที่เรียกว่า Social Negotiation 
  • และสังคมของคุณครูในวันนี้ “ได้สูญเสียเอกลักษณ์ไทย Thai Identity” คือ “ความเป็นพี่น้อง Affinity ขาดหายไป”.. . “ความกลมเกลียวกัน Love harmony ขาดหายไป” 
  • สิ่งเหล่านี้เป็นผลทำให้โรงเรียน “ขาดเอกภาพ Lack of Unity” อันเป็นต้นตอของความล้มเหลวทั้งมวลของการบริการจัดการในโรงเรียน..
  • และกล้ารับรองได้เลยว่า “การใช้พระเดช คืออำนาจการบริหาร หรือ Executive powers”กับคุณครูเพียงอย่างเดียวนั้น คือ “ความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง หรือ Failure entirely”...


  • ในการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อการศึกษาของศตวรรษที่ 21.จึงต้อง 
    • เปลียนแนวคิดของผู้บริหารสถาน ศึกษาเป็นเรื่องแรก Change the concept of school administrators first.
    • เปลี่ยนการสอนของครู Change Teaching Approach 
    • และ เปลี่ยนวิธีเรียนของนักเรียน Change the way of Learning 
    • นี้เรียกว่า “การปรับปรุงสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ ก่อนการเปลี่ยนแปลง"
หลักปฏิบัติ 12.ประการ สำหรับผู้บริการสถานศึกษา 

  • ผู้อำนวยการโรงเรียน “ควรต้องทำ Should be” หากต้องการความสำเร็จในการปฏิรูปการศึกษาในศตวรรษที่ 21.

  • 1. An effective school leader leads by example ผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็น “ผู้นำทำก่อน” ทำตัวให้เป็นตัวอย่าง leads by example เช่น ความพยายามทุกทางในการยกระดับการเรียนรู้ มีน้ำใจเอื้ออาทรดูแลทุกข์สุขของบุคลากรและนักเรียนทุกคนด้วยหลักเมตตาธรรม สิ่งเหล่านี้ไม่มีในตำรา แต่มันเป็น “ทักษะชีวิต Life Skill” ของมนุษย์ เห็นความคิดต่างเป็นอุปกรณ์สร้างปัญญา เป็นนักสมานสามัคคี เป็นนักกิจกรรมการเรียนรู้..เป็นบุคคลตัวอย่างแห่งการเรียนรู้..เป็นพี่เป็นน้องตามควรแก่ฐานะและความเหมาะสม ฯ.
  • 2. An effective school leader has a shared vision ผู้นำสถานศึกษา “ต้องเป็นนักแชร์วิสัยทัศน์ shared vision” นี้เป็นหลักการสำคัญ เปรียบว่า “รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” และ “เป้าหมายที่เราต้องร่วมรบให้ชนะ We Need to win the battle” คือ อุปสรรคที่ขัดขวางความเจริญงอกงามทางการศึกษาและการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน นั่นเอง
  • 3. An effective school leader is well respected ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องใช้ประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาของตน”สร้างการ “ยอมรับ Well Respected” ไม่ใช่ “อำนาจการบริหาร”
  • 4. An effective school leader is a problem solver ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องเป็นนักแก้ปัญหา problem solver”ร่วมกับคณะครู “มิใช่นักสั่งการแก้ไข Not a Fixed Order เพราะรากเง้าของปัญหาจะยังคงอยู่ และสร้างปัญหาอีกต่อไปไม่จบสิ้น”
  • 5. An effective school leader is selfless ผู้นำสถานศึกษา “ต้องไม่เห็นแก่ตัว Selfless” 
  • 6. An effective school leader is an exceptional listener ผู้นำสถานศึกษา “ต้องเป็นผู้ฟังที่ยอดเยี่ยม exceptional listener”และสามารถแสดง “วิสัยทัศน์ Point of View”ของตนอย่างแจ่มชัด
  • 7. An effective school leader adapts ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสามารถ “ปรับตัว”ให้เขากับสถานการณ์ และสิ่งแวดลอม ได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข
  • 8. An effective school leader understands individual strengths and weaknesses. ผู้บริหารสถานศึกษา “ต้องเข้าใจ จุดอ่อน และจุดแข็ง Strengths and Weaknesses”ของทั้งตนเองและผู้อื่น เพื่อ “ใช้คน ให้เหมาะกับงาน Put the Right Man on the Right Job.”
  • 9. An effective school leader makes those around them better ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดีต้อง “พยายามทำให้คนรอบข้างมีแต่ความสุขความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน”
  • 10. An effective school leader admits when they make a mistake ผู้บริหารสถานศึกษาที่ดี “ต้องยอมรับสภาพความผิดในฐานะหัวหน้างาน” เมื่อผู้ให้บังคับบัญชาทำผิด
  • 11. An effective school leader holds others accountable ผู้นำสถานศึกษาที่ดี “ต้องร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองได้มอบหมายให้ผู้อื่นทำ Holds Others Accountable”
  • 12. An effective school leader makes difficult decisions ผู้นำสถานศึกษา “เป็นผู้ตัดสินใจในสถานการณ์ที่ยากลำบาก makes difficult decisions”ภายใต้หลักการ “ ระดมความคิด หรือ Brainstorming กับผู้ร่วมงานอย่างเหมาะสมและจริงใจ

ขอบคุณข้อมูล สุทัศน์ เอกา...........................บอกความ

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ทักษะและเทคนิคการสอน

ทักษะและเทคนิคการสอน


ความหมาย
                ทักษะหมายถึง ความสามารถ ความชำนิชำนาญ และความคล่องแคล่วว่องไว ซึ่งเป็นสิ่งที่บุคคลได้เรียนรู้ที่จะทำด้วยความรวดเร็ว แม่นยำถูกต้อง ซึ่งอาจจะเป็นทางร่างกาย หรือสมอง ในระยะที่รวดเร็ว เช่น ความสามารถในการคิดเลขได้รวดเร็ว การวาดภาพเร็ว
                ทักษะเป็นคำที่นำมาจากรากศัพท์ ภาษาสันกฤต และในวิชาการศึกษาได้แปลมาจากคำว่า Skill ซึ่งมีความหมายถึง ความสามารถ ขยันหมั่นเพียร ความคล่องแคล่ว แข็งแรง นอกจากนี้พจนานุกรมไทยได้ให้ความหมายของทักษะไว้ว่าเป็นความชำนาญ และความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเวลารวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องนี้ กู๊ด ( Capenter V.good : 1973 ) ได้ให้ความหมายของทักษะไว้ในหนังสือ Dichinary of Eduoalion ความว่า เป็นสิ่งที่บุคคลได้เรียนรู้ที่กระทำด้วยความยาก ง่าย แม่นยำ อาจจะทางด้านร่างกาย สมองก็ได้ หรือ
                ทักษะ หมายถึง ความชัดเจน ความกลมกลืนในการใช้นิ้วมือ นิ้วเท้า มือ เท้า และสายตา
                สรุป ความหมายของทักษะ หมายถึง ความสามารถ ความชำนาญในการกระทำบางสิ่งบางอย่างได้เป็นอย่างดีด้วยความถูกต้อง แม่นยำ ในระยะเวลาที่รวดเร็ว เช่น ความสามารถในการอ่านเร็ว ทำงานเร็ว เป็นต้น อย่างมีประสิทธิภาพ
                ทักษะการสอนมีความสำคัญต่อการสอนมาก จากผลการวิจัยของ แอน พินิจด้า ได้ทำความวิจัยเรื่อง ความคิดเห็นของศึกษาวิทยาลัยครู เกี่ยวกับทักษะการสอนในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพกล่าวว่า การฝึกทักษะการสอนเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาวิชาครูได้มีการฝึกทักษะการสอนก่อนออกฝึกจริง เพราะช่วยให้นักศึกษาได้มีความตระหนักถึงการให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน และจะนำประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกทักษะการสอนไปใช้ในการฝึกสอน นอกจากนี้ผู้ตอบแบบสอบถามยังกล่าวถึงในด้านการนำผลการฝึกทักษะการสอนไปใช้ในการปรับปรุงตัวเองมีการเสริมกำลังใจนักเรียน มีการจัดเตรียมสื่อการสอนให้เหมาะสมกับบทเรียนนักศึกษาได้เรียนรู้การเร้าความสนใจ ช่วยทำให้มีการปรับปรุงวิธีการสอนอยู่ตลอดเวลา เพราะลักษณะการสอนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งสำหรับประสิทธิภาพในการสอน ทำให้ผู้ฝึกเกิดสมรรถภาพในการสอนเพิ่ม เนื่องจากจะช่วยให้ผู้ฝึกมีทักษะในการแก้ปัญหาการใช้กระดานดำ การสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสมดุล เป็นต้น
            เทคนิคการสอน คือ กลวิธีต่างๆที่ใช้เสริมกระบวนการ ขั้นตอน วิธีการ หรือการกระทำใดๆ เพื่อช่วยให้กระบวนการ ขั้นตอน วิธีการหรือการกระทำนั้นๆ มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น 
            การแบ่งทักษะการสอนนั้น มีแนวคิดแตกต่างกันหลายแบบ ดีเวท ดับบลิว แอลเลน (Dewight W.Allen)ได้จะแนกออกเป็น18ทักด้วยกันคือ
1.การสร้างสัมพันธ์                                                                           10.การตั้งคำถาม 
2.การวางขอบข่ายเนื้อหา                                                                  11.การใช้คำถามชั้นสุง
3.การสรุปผลลับ                                                                              12.การใช้คำถามชุด
4.การมีพฤติกรรมเอาใจใส่ในตัวผู้เรียน                                                13.การให้นักเรียนเงียบและการแนะนำโดยไม่ใช้คำพูด 
5.การหาผลย้อนกลับหรือข้อมูลย้อนกลับ                                            14.การกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถามเอง
6.การเสริมกำลังใจ                                                                           15.การสื่อความหมายที่สมบูรณ์
7.การพูดทบทวนและย้ำเตือน                                                            16.การแปรเปลี่ยนตัวกระตุ้น
8.การควบคุมการมีส่วนร่วมในการเรียนของนักเรียน                              17.การบรรณยาย
9.การอธิบายและใช้ตัวอย่าง                                                              18.การบอกให้นักเรียนรู้ตัวว่าต้องตอบคำถาม
ในที่นี้นำเสนอทักษะพื้นฐานที่สำคัญสำหรับผู้สอนทั้งในระดับมัธยมศึกษาและปฐมศึกษา ดังนี้
1.ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน                                     2.ทักษะการใช้วาจากริยาท่าทางในการสอน
3.ทักษะการอธิบาย                                                  4.ทักษะการเร้าความสนใจ
5.ทักษะการใช้คำถาม                                              6.ทักษะการใช้อุปกรณ์การสอน
7.ทักษะการใช้กระดานดำ                                         8.ทักษะเสริมกำลังใจ
9.ทักษะการสรุปบทเรียน
ความสำคัญของทักษะการสอน
  • การฝึกทักษะการสอนนับว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้มีอาชีพครู ผู้สอนจึงต้องมีความสามารถในถ่ายทอดความรู้ได้อย่างดีแก่ผู้เรียน ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจโดยเขาไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามผู้สอนตั้งจุดมุ่งหมายไว้
ทักษะการสอนพื้นฐาน
  • ทักษะการสอนขั้นพื้นฐานหมายถึงความสามารถ หรือความชำนาญในการสอนซึ่งทักษะจะไม่สามารถเกิดขึ้นเองได้ถ้าไม่ฝึกฝนทักษะการสอนมีหลายทักษะด้วยกันที่ใช้ในแต่ละคาบหรือแต่ละชั่วโมงผู้เป้นครูได้มีการฝึกฝนเพื่อเป็นพื้นฐานในการสอนต่อไป
1.ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน
  • การนำเข้าสู่เรื่องที่จะเรียน เป็นขั้นการสอน หรือกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเริ่มต้นทำการสอนเพื่อดึงความสนใจ ให้ผู้เรียนพร้อมที่จะติดตามบทเรียนต่อไป
เทคนิคการนำเข้าสู้บทเรียน
1.ใช้อุปกรณ์การสอนเช่น ของจริง รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ
2.ให้นักเรียนลองทำกิจกรรมบางอย่างที่สัมพันธ์กับบทเรียน เช่น การให้ยืนแสดงท่าทางต่าง ๆ การให้นักเรียนลองใส่ RAM ในคอมพิวเตอร์
3.ใช้เรื่องเล่านิทาน หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ โยงมาสู่เรื่องที่จะสอน
4.ตั้งปัญหา ทายปัญหา เพื่อเร้าความสนใจของนักเรียนให้คิดหาคำตอบ
5.สนทนาซักถามถึงเรื่องราวต่างๆเพื่อนำเข้าสู่บทเรียน
6.แสดงละครหรือบทบาทสมมูติเพื่อให้ผู้เรียนสนใจ
7.แสดงละครหรือบทบาทสมมูติ
8.ร้องเพลงซึ่งเป็นเพลงเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน
2.ทักษะการใช้วาจากริยาท่าทางในการสอน
  • การใช้วาจากิริยาท่าทาง ในการสอนนับว่าเป็นสิ่งสำคัยอย่างยิ่งของครู เพราะการที่นักเรียนจะเกิดความพอใจและสนใจที่จะเรียนนั้น บุคลิกภาพของครูนั้นจำเป็นอย่างหนึ่งเพราะบุคลิกภาพของครู รวมทั้งความสามารถในการสื่อความหมายระหว่างครูกับนักเรียนจะช่วยให้นักเรียนไม่เบื่อหน่าย
เทคนิคการใช้วาจากิริยา ท่าทางประกอบการสอน
1.การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนอิริยาบท
    • เริ่มแรกที่เข้ามาในห้องเรียนครูควรเดินด้วยท่าทางที่เหมาะสมสง่างามและดูเป็นธรรมชาติ
2.การใช้มือแลแขน
    • ใช้มือประกอบท่าทางในการพุด ซึ่งจะเป็นสิ่งดึงดุดใจของนักเรียน เพราะนักเรียนสนใจดูสิ่งเคลื่อนไหวมากกว่าสิ่งที่นิ่ง
3.การแสดงออกทางสีหน้า สายตา
    • การแสดงออกทางหน้าตา สายตา เป็นส่วนหนึ่งที่ใช้สื่อความหมายกับผู้เรียน ผู้เรียนจะเข้าใจถึงความรู้สึก หรือเข้าใจในอารมณ์การสอน ในการสอนบทเรียนที่มีความตื่นเต้น สีหน้าของครูต้องคล้อยตามสัมพันธ์กับความรู้สึกดังกล่าวด้วย
4.การทรงตัวและการวางท่าทาง
    • ควรวางท่าให้เหมาะสม ไม่ดูตรึงเครียด หรือเกรงเกินไป  ควรวางท่าทางและทรงตัวขณะสอนให้ดูเป็นธรรมชาติแต่ก็ไม่ดูปล่อยตามสบายจนเกินไป
5.การใช้น้ำเสียง
    • ควรใช้น้ำเสียงที่ชัดเจนเหมาะสม ไม่ช้า ไม่เร็วจนเกินไป มีการออกเสียงการใช้ถ้อยคำถูกต้อง  ไม่แสดงอารมณ์ที่ไม่สมควรออกทางน้ำเสียงเพราะโดยปกติแล้วน้ำเสียงของครูสามารถบอกอารมณ์ได้และความรู้สึกของครูได้อย่างดี ถ้าครูเสียงดีนักเรียนก้จะมีความรู้สึกที่ดีต่อครู
6.การแต่งกาย
    • ครูควรแต่งกายให้ถุกต้องเหมาะสมเพราะถ้าครูแต่งกายสวยเดนจนเกินไปทำให้นกเรียนจะให้ความสนใจกับครูมากกว่าบทเรียน ผู้สอนควรแต่งกายให้เรียบร้อย
3.ทักษะการอธิบาย       
  • ทักษะการอธิบาย  หมายถึง ความสามารถในการพูดแสดงรายละเอียดและให้ตัวอย่างให้ผู้เรียนเข้าใจ หายจากข้อสงสัย เกิดความชัดเจนในสิ่งนั้น หรือขยายความในลักษณะที่ช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งอาจกระทำได้โดยการบอก การตีความ การสาธิต การยกตัวอย่าง ฯลฯ บางครั้งเพื่อให้การอธิบายเป็นที่เข้าใจได้ง่าย อาจจะใช้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบการอธิบาย ก็จะช่วยทำให้ผู้ฟังสนใจและเข้าใจความหมายได้ดีขึ้น   
เทคนิคการสอนการอภิปราย
1.เวลาอธิบายไม่นานเกินควร เวลาอภิปรายไม่เกิน10นาทีเพราะเกินเวลานี้ไปผุ้เรียนอาจไม่สนใจเรียน
2.ภาษาที่ใชง่ายแก่การเข้าใจ รัดกุมไม่เยิ้นเย้อ น่าฟัง
3.สื่อการสอน ควรน่าสนใจช่วยในการอภิปรายได้ง่ายยิ่งขึ้น
5.การอภิปรายเริ่มจากเรื่องที่เข้าใจง่ายไปหาเรื่องที่ยาก
6.ท่าทางในการอภิปรายน่าสนใจ
7.ใช้แนวคิด หรือถ้าเป็นอภิปรายของนักเรียนให้ใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาเป็นแนวทางในการอธิบายด้วยความเข้าใจตามแนวคิดของนักเรียน
8.มีการสรุปอภิบายด้วย
4.ทักษะการเร้าความสนใจ
การเร้าใจสนใจเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยให้การเรียนการสอนนั้นประสบผลดี เพราะจะช่วยให้ครูปรับปรุงวิธีการสอนให้เด็กเกิดสนใจในการเรียนและติดตามกิจกรรมโดยตลอดไม่เบื่อหน่ายดังนั้น  พยายามใช้เทคนิคต่าง ๆ มากระตุ้นให้นักเรียนสนใจอยู่ตลอดเวลา
เทคนิคการสอนการเร้าความสนใจ
1.การใช้สีหน้า ท่าทางประกอบการสอน มีการใช้ท่าทางประกอบการสอนจะทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนยิ่งขึ้น
2.การใช้ถ้อยคำและน้ำเสียง  ถ้อยคำที่ครูใช้และน้ำเสียงเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผุ้เรียนสนใจเรียน ไม่มีการเน้นหนักเบาจะทำให้การเรียนนั้นไม่น่าสนใจ
3.การเคลื่อนไหวของครูครูควรมีการเคลื่อนไหวในขณะสอน ครูควรเปลี่ยนจากจุดนั่งเป็นจุดยืนของตน เพราะถ้าครูยืนอยู่จุดเดียวทำให้ผู้เรียนไม่มีความกระตือรือร้น และไม่เกิดความสนใจเท่าที่ควร
4.การเน้นจุดสำคัญของเรื่อง และการเว้นระยะการพุด หรือการอธิบาย ถ้าครูผุ้สอนต้องการให้ผู้เรียนสนใจ  ครูควรมีการฝึกเน้นคำพูดสำเนียง จังหวะ นอกจากนี้แล้วครูหยุดนิ่ง เว้นระยะการพุดตอนใดนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ช่วยให้ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและมีเวลารวบความคิด เชื่อมโยงความคิดได้
5.ทักษะการใช้คำถาม 
  • คำถามนับเป็นสิ่งสำคัญในการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันที่เน้นให้เด็กคิดเป็นซึ่งการที่จะให้บรรลุเป้าหมายจุดประสงค์ดังกล่าวผู้สอนควรมีวิธีการและเทคนิคต่างๆมากมายสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ การใช้คำถาม ซึ่งการใช้คำถามจะมีประสิทธิภาพได้ครูผู้ถามจะต้องเข้าใจถึงจุดประสงค์ในการถาม
เทคนิคการใช้คำถาม
1.ถามด้วยความมั่นใจ ผู้สอนต้องเตรียมคำถามไว้เพื่อให้เกิดความมั่นใจและคล่องตัวในการถาม
2.ถามอย่างกลมกลืนคือ กลมกลืนกับเนื้อหา กิจกรรมที่กำลังเรียนอยู่
3.ถามโดยใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ใช้ภาษาให้เหมาะสมในระดับชั้นเรียนผู้เรียนจะได้ดเข้าใจการถาม
4.การให้นักเรียนมีโอกาสตอบหลายคนในการสอน ครูควรกระจายคำถามให้ทั่วถึงไม่ใช่ถามแต่ผู้เรียนบางคน
5.การเลือกคำถาม บางครั้งครูควรเลือกถามผุ้เรียนบางคนเพื่อจุดประสงค์ของครู เช่นถามผู้เรียนที่เรียนเก่งในกรณีที่ครูต้องการสรุปบทเรียน
6.การเสริมกำลังใจ หรือให้ผลย้อนกลับ เมื่อมีผุ้เรียนตอบถูก ครูไม่ควรที่ละเลยที่จะทำให้นักเรียนมีกำลังใจด้วยวิธีการต่างๆ
7.ใชคำถามในแต่ละประภท ในการสอนแต่ละครั้งในการสอนแต่ละครั้ง
8.การใช้กิริยาท่าทาง เสียงประกอบในการถาม ครูควรเพิ่มบรยากาศความสนใจอยากตอบคำถามของผู้เรียน
6.ทักษะการใช้อุปกรณ์การสอน
  • อุปกรณ์การสอน จะช่าวยให้การเรียนรู้มีความหมายมากขึ้น เพราะอุปกรณ์การสอนจะเป็นจุดรวมความสนใจสามารถเพิ่มความเป็นรุปธรรมและความเป็นจริงต่อการเรียนรู้ได้มากขึ้น อุปกรณ์การสอนจะเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดมองเห็นเรื่องราวหรือสิ่งที่เรียนรู้ได้ถูกต้องและสามารถจดจำเรื่องราวได้แม่นยำ
เทคนิคการสอนการใช้อุปกรณ์
1.ใช้อุปกรณ์การสอนอย่างคล่องแคล่วว่องไว
2.แสดงอุปกรณ์ให้เห็นชัดทั่วทั้งห้อง
3.ควรหาที่ตั้งอุปกรณ์ วางแขวนขนาดใหญ่
4.ควรใช้ไม้ยาว และมีปลายแหลมชี้แผนภูมิ แผนที่
5.ควรมีการเตรียมผู้เรียนไว้ล่วงหน้าก่อนการใช้อุปกรณ์
6.ควรเลือกใช้เครื่องประกอบการใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสม
7.พยามยามเปิดดอกาศให้ผุ้เรียนได้ร่วมกิจกรรม หรือได้ศึกษาอุปกรณ์นั้นๆ
7.ทักษะ และเทคนิคการใช้กระดานดำ        
1.ครูควรทำความสะอาดกระดานดำทุกครั้งที่เข้าสอน
2.ในการเขียนทุกครั้งไม่ควรเขียนทีเดียวทั้งแผ่นควรแบ่งครึ่งแง 3 ส่วน หรือ4 ส่วน
3.ในการเขียนกระดาษทุกครั้งควรเขียนจากว้ายมือไปขวามือ
4.ถ้ามีหัวข้อเรื่องควรเขียนไว้ตรงกลางกระดานดำในส่วนที่เราแบ่งไว้
5.ขณะเขียนยืนห่างกระดานพอประมาณ
6.ในการเขียนหนังสือให้เขียนตรงไม่คดเคี้ยว
7.ถ้าต้องการอธิบายข้อความบนกระดานดำไม่ควรยืนบัง ควรใช้ไม้ชี้
8.ถ้ามีข้อความสำคัญอาจใช้ชอล์กสีเมื่อต้องการเน้นข้อความใดโยเฉพาะ
9.ถ้ามีข้อความสำคัญอาจใช้ชอล์กสีขีดเส้นใต้
10.เขียนคำตอบของผู้เรียนบนกระดานดำเพื่อเสริมกำลังใจผู้เรียน
8.ทักษะเสริมกำลังใจ
  • การเสริมกำลังใจ หมายถึงการให้กำลังใจแก่ผู้เรียน เช่น การใช้คำชมเชย หรื แสดงพฤติกรรมที่ปรารถนาดีแก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีในการเรียนและมีความเชื่อมั่นในตนเอง
เทคนิคเสริมกำลังใจ
1.เมือนักเรียนทำพฤติกรรมได้อย่างถูกต้อง ควรเสริมกำลังใจ โดยใช้ท่าทางและวาจาประกอบกัน
2.เสริมกำลังใจย้อนหลัง โดยให้นักเรียนที่ตอบถูกบอกคำตอบของตนอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้เห็นแนวทางที่ตอบไม่ได้ จะได้ทีโอกาสตอบได้ถูกต้อง
3.ไม่พุดเกินความจริง ถ้าครูพุดเกินความจริงจะทำให้นักเรียนขาดศรัทธาและเชื่อถือไม่ใช้คำพูดที่จำกัดวงแคบใช้วิธีเสริมกำลังใจให้หลายวิธี
4.ไม่ควรเสริมกำลังใจบางประเภทบ่ยเกินไปเพราะจะทำให้ผูเรียนไม่เห็นคุณค่าของการเสริมกำลังใจนั้น
5.ใช้วิธีเสริมกำลังใจต่างๆกันและให้โอกาสต่างๆกัน แลให้ทั่วถึงผู้เรียนทุกคน
6.การเสิรมกำลังใจทางบวกมากกว่าทางลบจะได้ผลดีกว่า
9.ทักษะการสรุปบทเรียน
  • การสรุปบทเรียนเป็นการที่ผู้สอนพยายามให้นักเรียนรวบรวมความคิด ความเข้าใจของตนเองจากการเรียนรู้ที่ผ่านมา ว่าได้สาระสำคัญ หลักเกณฑ์ หลัการ หรือแนวคิดสำคัญในช่วงการสอนนั้นอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อนักเรียนจะได้รับประเด็นสำคัญของบทเรียนได้ถูกต้องว่ามีอะไรบ้าง และจะนำความรู้ใหม่ไปสัมพันธ์กับความรู้เดิมได้อย่างไร
เทคนิคการสรุปบทเรียน
1.สรุปโดยอธิบายสั้นๆ ชัดเจน ทบทวนสาระสำคัญที่เรียนมา
2.สรุปโดยอุปกรณ์หรือรูปภาพประกอบ
3.สรุปโดยสนทนาซักถาม
4.สรุปโดยสร้างสถานการณ์
5.สรุปโดยนิทานหรือสุภาษิต
6.สรุปโดยการปฎิบัติ