วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
1x42.gif
        เยาวชนไทยในฐานะพลเมืองของชาติ จะต้องตระหนักในบทบาทหน้าที่ของความเป็นพลเมืองดี และประพฤติปฎิบัติตนเป็นคนดี มีคุณธรรม ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และบำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์สังคมไทยให้เจริญก้าวหน้า และเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบ
ผลการเรียนรู้
        1.ปฎิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
        2.มีส่วนร่วมรับผิดชอบในการตัดสินใจ ตรวจสอบข้อมูล เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ
เรื่องที่ 1
1x42.gif
การประพฤติปฎิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
--------------------------------------------------------------------------
        พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย จะต้องเป็นผู้รู้สิทธิและปฎิบัติหน้าที่ของตน ยึดมั่นในหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม หลักการประชาธิปไตย และเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน ชุมชน และสังคม เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกันและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
1.การมีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม
        การเข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมของนักเรียน เช่น เข้าร่วมในการเลือกตั้งคณะกรรมการนักเรียน มีส่วนร่วมในการอนุรักษืสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาโบราณสถาน โบราณวัตถุ สาธารณะสมบัติ ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
2.การตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
        ในการอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย การตัดสินใจ และการตัดสินปัญหาต่างๆ จะต้องใช้เหตุผลพิจารณาอย่างรอบคอบ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม สิทธิอันชอบธรรมของผู้อื่นและความยุติธรรม เพื่อให้เกิดผลที่น่าพอใจ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งตามมาภายหลัง
        ขั้นตอนการปฎิบัติตนที่แสดงถึงการตัดสินใจโดยใช้เหตุผล
  1. ปัญหา/การกำหนดปัญหา
  2. วิเคราะห์สาเหตุ
  3. หาแนวทางการแก้ปัญหา
  4. เลือกวิธีการ
  5. กำหนดแนวปฎิบัติ
  6. ปฎิบัติตามแผนที่กำหนด
  7. ติดตามและประเมินผล
        การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลย่อมทำให้เกิดความพึงพอใจด้วยกันทุกฝ่าย แต่ถ้าหากไม่ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ ก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้
เรื่องที่ 2
1x42.gif
การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจ
        การอยู่ร่วมกันในสังคม สมาชิกทุกคนจะต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ ของสังคมร่วมกัน เพื่อการพัฒนาสังคมและการอยู่ร่วมกันอย่างสุขสงบ
        สำหรับนักเรียนก็สามารถมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ได้เช่นกัน เริ่มจากการมีส่วร่วมในกิจกรรมในโรงเรียน เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนให้เจริญก้าวหน้า
1.การมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจต่อกิจกรรมของห้องเรียนและโรงเรียน
        โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่ให้ความรู้และการทำกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ ตัวอย่างกิจกรรมในโรงเรียน เช่น กิจกรรมพัฒนาโรงเรียน กิจกรรมทางวิชาการ เป็นต้น
        การปฎิบัติตนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจ ต่อกิจกรรมของห้องเรียน และโรงเรียน
  1. ต้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนต่อห้องเรียนและโรงเรียน
  2. สื่อสารด้วยภาษาเชิงบวก สร้างสรรค์ เพื่อความร่วมมือลดการเผชิญหน้า ที่มาจากความขัดแย้ง
  3. แสดงออกต่อกันอย่างกัลยาณมิตร
  4. ยอมรับฟังความคิดเห็น เหตุและผลจากรอบด้าน เพื่อหาแนวทางการทำงาน
  5. ร่วมกันรับผิดชอบผลของการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน
การปฎิบัติตนดังกล่าว ส่งผลให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆมากขึ้น เกิดความรักสามัคคีในหมู่เพื่อนสมาชิกของห้องเรียนและโรงเรียน
2.การตรวจสอบข้อมูล
        การพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีและการสื่อสาร ทำให้การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วจากหลายช่องทาง เช่นสื่อโทรทัศน์ วิทยุ สื่อสิ่งพิมพ์ อินเทอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอนั้นอาจเป็นความจริง หรือไม่เป็นความจริงก็ได้
        ดังนั้นนักเรียนจะต้องมีวิจารณญาณในการเลือกรับ และตรวจสอบข้อมูลจากสื่อต่างๆ เพื่อการรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง
        หลักการตรวจสอบข้อมูล
  1. ตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล
  2. ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน
  3. ตรวจสอบคุณภาพและข้อเท็จจริงของข้อมูล โดยการสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากหลายแหล่ง
  4. มีวิจารณญาณในการรับข้อมูล และแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริง ข่าวลือ ข้อมูลที่เล่าต่อๆกันมา
        การตรวจสอบข้อมูลอย่างรอบคอบจะทำให้ได้ข้อเท็จจริง ช่วยลดความผิดพลาดในการตัดสินใจและสร้างความโปร่งใสในการปฎิบัติงาน

1 ความคิดเห็น: