วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
1x42.gif
ความปรองดองสมานฉันท์
        ในการอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าจะในระดับครอบครัว ชุมชน สังคมหรือระดับประเทศ เราจะต้องปฎิบัติต่อกันด้วยความปรองดอง สมานฉันท์ เพื่อให้เกิดความสันติสุขร่วมกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันและร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยสันติวิธี
ผลการเรียนรู้
  1.  ยอมรับความหลากหลายทางสังคม วัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
  2. มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี
เรื่องที่ 1
1x42.gif
ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
        เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความหลากหลายทางด้านสังคม วัฒนธรรม และใน พ.ศ.2558 จะรวมตัวเข้าสู่ประชาคมอาเชี่ยน
        ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมนักเรียนจะต้องศึกษาประเทศเพื่อนบ้าน เรียนรู้ความหลากหลาย เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน ในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
1.ความหลากหลายของวิถีชีวิต
        จากสภาพภูมิประเทศที่เป็นผืนแผ่นดินและหมู่เกาะ ประกอบกับการมีลักษณะภูมิอากาศอยู่ในเขตร้อน จึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชากร และการประกอบอาชีพของคนในภูมิภาคให้มีความหลากหลาย
2.ความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม
        เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นดินแดนพหุสังคม มีความหลากหลายทางด้านความเชื่อ วิถีชีวิต ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม
3.ความหลากหลายทางด้านศาสนา
        ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา และศาสนาอิสลาม โดยประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา ส่วนประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถืออิสลาม ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน
4.ความหลากหลายด้านสิ่งแวดล้อม
        เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งน้ำ อาหาร และพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ ยังมมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจและวิถีชีวิตของมนุษย์
เรื่องที่ 2
1x42.gif
การอยู่ร่วมกันในพหัวัฒนธรรม
        การอยู่ร่วมกันในสังคม ที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม จะต้องมีการศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศต่างๆ เพื่อความเข้าใจอันดีต่อกัน
การปฎิบัติตนต่อกันอย่างเหมาะสม มีดังนี้
  1. การเคารพซึ่งกันและกัน
  1. เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนูาย์ ยอมรับความแตกต่างด้านความเชื่อ วัฒนธรรม ภาษา และเชื้อชาติ
  2. เคารพในสิทธิของกันและกัน
  3. เคารพในความคิดเห็นของผู้อื่น
  1. ไม่แสดงกิริยาและวาจาดูหมิ่นผู้อื่น
  1. แสดงกิริยา วาจา สุภาพ
  2. ไม่กล่าวลบหลู่ในสิ่งที่เขาเคารพศรัทธา
  3. ไม่พูดจาล้อเลียน เยาะเย้ยคนที่มีวัฒนธรรมต่างจากเรา
  1. ช่วยเหลือซึ่งกันและกันและมีการแบ่งปัน
  1. มีน้ำใจที่จะช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
  2. เปิดโอกาสให้คนต่างเชื้อชาติต่างวัฒนธรรม เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของสังคม
  3. ให้ความช่วยเหลือ และเข้าร่วมกิจกรรมที่ดี ที่ชาวต่างชาติจัดขึ้น
เรื่องที่ 3
1x42.gif
การแก้ปัญหาควมขัดแย้ง
        ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นได้ในสังคมประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ มีความเสมอภาค ดังนั้น เราจึงควรรู้และเข้าใจถึงปัญหา ลักษณะของปัญหา สาเหตุ พฤติกรรม ผลกระทบ การป้องกันและการแก้ไข รวมทั้งเป็นแนวทางการสร้างสรรค์สังคม เพื่อให้เกิดความสันติสุขในระดับต่างๆ
1.การทะเลาะวิวาท
        การทะเลาะวิวาท เป็นสถานการณ์ความขัดแย้งระดับที่ใช้ความรุนแรงต่อกันด้วยคำพูด การใช้กำลัง และถึงขั้นใช้อาวุธทำร้ายกัน
        อาจเป็นการทะเลาะระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือระหว่างองค์กร สถาบัน ทำให้เกิดสถานการณ์ตึงเครียด เกิดความหวาดระแวง ไม่ไว้ใจกัน ไม่มั่นใจในความปลอดภัยทั้งของตนเองและผู้อื่น เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เป็นพรรคเป็นพวก และขาดความสามัคคีปรองดอง
  1. ปัจจัยที่นำไปสู่การทะเลาะวิวาท
  1. ความอิจฉาริษยา ความไม่ชอบหน้า ความเป็นคู่อริ เช่น ไม่ชอบบุคลิกของอีกฝ่าย
  2. ต้องการแสดงความเหนือกว่าผู้อื่น เช่น กรณีรับน้อง รุ่นพี่ใช้วาจาข่มขู่
  3. การดื่มสุรา เสพสิ่งเสพติด ทำให้ขาดสติ
  4. อารมณ์และความคึกคะนองตามวัย เช่น วัยรุ่นยกพวกตีกัน
      2.  แก้ปัญหาการทะเลาะวิวาท
  1. ครอบครัว สถานศึกษา ควรเป็นแบบอย่างในการปลูกฝัง อบรม เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น
  2. ผู้ใหญ่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ไม่ทะเลาะวิวาทหรือแสดงความขัดแย้งให้เด็กจดจำเป็นแบบอย่าง
  3. จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น กีฬา ดนตรี
  4. ใช้หลักธรรมทางศาสนา สร้างทัษนคติของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
2. การมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน
        ความคิดเห็นไม่ตรงกัน เป็นความไม่ลงรอยกันในทางความคิด ความรู้สึก ความต้องการอุดมการณ์ ทำให้ต่างฝ่ายต่างพยายามเอาชนะต่อกัน พยายามโน้มน้าวความคิดให้เกิดการยอมรับความคิดเห็นของฝ่ายตน ซ฿่งสาเหตุเช่น ความรู้ความเข้าใจในข้อเท็จจริงและเรื่องราที่เกิดขึ้นไม่เท่ากัน ไม่ตรงกัน วิธีคิด ทัศนคติ ที่ไม่ตรงกัน ส่งผลให้ความสัมพันธ์ของบุคคลไม่ดี นำไปสู่ความขัดแย้งหรือทะเลาะวิวาทกัน
2.1. วิธีแก้ปัญหาความคิดเห็นไม่ตรงกัน
  1. ทำให้ทุกคนเห็นภาพรวมและมีเป้าหมายตรงกัน
  2. เป็นคนคิดบวก มองโลกในแง่ดี และปรับเปลี่ยนทัศนคติของตัวเองให้เข้ากับกลุ่ม
  3. รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและแสดงออกอย่างมีเหตุผล
  4. เมื่อมีเหตุการณ์ความเข้าใจผิดต่อกัน ให้พูดคุยกันด้วยเหตุผล เพื่อปรับความเข้าใจ
3.การแก้ปัญหาความขัดแย้งโดสันติวิธี
        การใช้หลักสันติวิธีในการแก้ปัญหา มีความสำคัญยิ่งในสังคมประชาธิปไตย เพื่อทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งคลี่คลายลงหรือยุติได้ หรือเพื่อไม่ให้สถานการณ์รุนแรง นำไปสู่ความแตกแยกและความไม่สงบสุขในสังคม ซึ่งมีวิธีการดังนี้
3.1. การเจรจาไกล่เกลี่ย
        3.1.1. ผู้ไกล่เกลี่ยจะเป็นคนกลางเพื่อเจรจาระหว่างคู่กรณี
        3.1.2. ผู้ไกล่เกลี่ยจะให้คู่กรณีผลัดกันเล่าถึงปัญหา
        3.1.3. ร่วมกันหาข้อสรุปของปัญหา โดยใช้เหตุผล
3.2. การเจรจาต่อรอง
        3.2.1. คู่กรณีนัดเจรจาต่อรองกันเอง
3.2.2. ทั้งสองฝ่ายทำการพูดคุยกันเอง เพื่อแสดงออกถึงความต้องการของตน
3.2.3. หาข้อสรุปร่วมกันเพื่อความพอใจของทั้งสองฝ่าย
3.2.4. ทำการตกลงและปฎิบัติตามที่ตกลงกันไว้
3.3. การระงับความขัดแย้ง
3.3.1. สามารถทำได้โดยเริ่มจากการเจรจาไกล่เกลี่ยหรือต่อรอง
3.3.2. หากไม่สำเร็จ ก้สามารถ ใช้วิธีตามกฎหมาย เช่น ให้ศาลวินิจฉัย
ffo124.gif
                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น