วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

7-แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม


แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

1x42.gif
1.      แนวโน้มด้านเศรษฐกิจ  มีลักษณะดังนี้
1.1  เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยน้อย  ขาดแคลนที่ทำกินเป็นของตนเอง เกษตรกรรายย่อยที่มีที่ทำกินจะหันมาพัฒนาด้านการเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ได้รับพระราชทานแนวพระราชดำริจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.2  อุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีความเป็นไปได้น้อย  เพราะปัจจัยด้านเศรษฐกิจ  อุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อมจะได้รับการฟื้นฟู
1.3  สมาชิกในสังคมไทยมีค่านิยมในการพึ่งตนเองมากขึ้น  พัมนาตนเองสู่อาชีพธุรกิจขนาดย่อมแทนการเข้ารับราชการหรือ เป็นลูกจ้าง
1.4  มีการใช้เครื่องจักรและเทคโนโลยีในทุกวงการ  เทคโนโลยีสารสนเทศ  หรือคอมพิวเตอร์จะมีบทบาทในการประกอบธุรกิจมากขึ้น
1.5  มีการพัมนาช่างฝีมือและส่งเสริมรายได้จากการผลิตที่ใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่นเพื่องส่งเสริมแรงงานท้องถิ่นมากขึ้นโดยเนนเศรษฐกิจชุมชน  ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

2.      แนวโน้มด้านสังคม  มีลักษณะสำคัญดังนี้
2.1  คนไทยมีการเปลี่ยนแปลงค่านิยมเรื่องของสิทธิสตรีมากขึ้น  สตรีจะมีบทบาทในสังคมไทยมากขึ้น
2.2  แนวโน้มครอบครัวมีขนาดเล็กลง  ความสัมพันธ์ในครอบครัวระบบเครือญาติลดลง  หน้าที่การอบรมเลี้ยงดูบุตรหรือการขัดเกลาทางสังคมลดลง
2.3  สถาบันการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางการผลิตบุคคลเข้าสู่อาชีพและตลาดแรงงานที่ขาดแคลนมากขึ้น
2.4  รัฐบาลมุ่งเน้นการสร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง  ชุมชนและสังคมได้รับการพพัฒนาแบบยั่งยืนมากขึ้น

3.      แนวโน้มด้านการเมือง  มีลักษณะสำคัญดังนี้
3.1  ประชาชนมีส่วนร่วมทางการการเมืองการปกครองมากขึ้น
3.2  ระบบการตรวจสอบการทำงานของข้าราชการและนักกรเมืองจะมีปประสิทธิภาพมากขึ้น
3.3  ประชาชนเข้าใจสิทธิเสรีภาพมากขึ้น  รู้จักใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองและส่วนรวมมากขึ้น

ปัญหาสังคมไทยและแนวทางแก้ไข

               ปัญหาสังคม  หมายถึง  สภาวะการณ์ทางสังคมที่คนส่วนใหญ่ในสังคมเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี  ไม่เป็นที่พึงปรารถนาของคนโดยส่วนรวมมากขึ้น  จำเป็นจะต้องมีนโยบายหรือโครงการแก้ไขและเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขหรือขจัดให้หมดไปได้
             ปัญหาสังคมไทยที่สำคัญ  พอสรุปได้ดังนี้
1.      ปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม  หมายถึง  สิ่งต่าง ๆ  ที่อยู่รอบตัวมนุษย์  ทั้งที่เป็นสภาพธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  มลภาวะด้านสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย  คือ
1)      มลภาวะทางอากาศ  ในปัจจุบันเมืองอุตสาหกรรม  อากาศจะเต็มไปด้วยควัน  หมอก  เขม่าจากโรงงานอุตสาหกรรม ไอเสียของรถยนต์
2)      มลภาวะทางดิน  ปัจจุบันมีการใช้ดินในทางเสื่อม  เช่น  ใช้ปุ๋ยเกินความพอดี  การใช้มูลสัตว์  ขยะมูลฝอย  ตะกอนของสารเคมีกองไว้  ทำให้เกิดสารมีพิษในดินบริเวณนั้น
3)      มลภาวะทางน้ำ  การกระทำของมนุษย์  เช่น  ทำให้น้ำมีการปนเปื้อนสารเคมี  การทิ้งของเสียลงในแม่น้ำลำคลองของโรงงานอุตสาหกรรม
4)      มลภาวะทางเสียง  มลภาวะทางเสียงของสังคมเมือง  โรงงานอุตสาหกรรมที่มีเสียงดัง  การจราจร  ทำให้ประสาทหูมีปัญหาเสื่อมและก่อให้เกิดความเครียด

            แนวทางแก้ไขมลภาวะทางสภาพแวดล้อม

1)      ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
2)      ออกกฎหมายใช้มาตรการบังคับอย่างมีประสิทธิภาพ
3)      สร้างจิตสำนึกให้ชุมชนดูแลกันเอง
4)      พัฒนาคนให้รู้จักสร้างสมดุลของธรรมชาติ
2.      ปัญหาความยากจน
        ความยากจน   คือ  การที่บุคคลดำรงชีวิตโดยมีรายได้ไม่พอกับการดำรงชีพ  ไม่สามารถบำบัดความต้องการที่จำเป็นของร่างกายและจิตใจ  ทำให้บุคคลนั้น ๆ มีความเป็นอยู่ต่ำกว่าระดับมาตรฐานที่สังคมวางไว้

        แนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน

1.      จัดสวัสดิการในเรื่องการรักษาพยาบาล  การศึกษาให้แก่ประชาชน
2.      รัฐต้องสร้างงานสร้างรายได้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง
3.   ให้มีหลักประกันสังคมของกลุ่มอาชีพต่างๆ
4.      มีกิจกรรมประชาสงเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ

5.      มีการจัดระบบการศึกษานอกระบบฝึกอาชีพ  และสร้างค่านิยมให้คนขยันและพึ่งตนเอง  ประหยัดและอดทน
3.      ปัญหายาเสพติด
       ยาเสพติด  หมายถึง  สิ่งที่เสพแล้วผู้เสพจะเกิดความต้องการทั้งร่างกายและจิตใจในการที่จะเสพต่อไป  โดยไม่สามารถหยุดได้  จำนวนการเสพจะเพิ่มขึ้นเรื่อง ๆ  จนทำให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจ
        ยาเสพติดก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกาย  สุขภาพจิตและกระทบต่อปัญหาการพัฒนาสังคมด้านต่าง ๆ  เช่น  ก่อให้เกิดปัญหาความยากจน  อาชญากรรม  และอื่น  ๆ
        แนวทางการแก้ปัญหายาเสพติด  คือ
(1)   ออกกฎหมายเพิ่มโทษ  และปราบปรามยาเสพติดอย่างจริงจัง
(2)   ให้การศึกษาแก่นักเรียน  เยาวชน  และประชาชนทั่วไปในเรื่องยาเสพติด
(3)   สร้างครอบครัวให้เข้มแข็ง  เช่น  ให้ความรักความอบอุ่นแก่สมาชิกของครอบครัว
(4)   สร้างจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคมของบุคคลเพื่อให้เกิดการเลิกผลิตเลิกเสพ
4.      ปัญหาโรคเอดส์ (AID : Acquired  Immune  Deficiency  Syndrome)
      โรคเอดส์  คือ  โรคที่เกิดอาการภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “HIV”  เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปโจมตีหรือทำลายระบบภูมิคุ้มกัน  ทำให้ร่างกายอ่อนแอหรือบกพร่องมาก  ทำให้เกิดโรคติดเชื้อต่าง ๆ  เกิดขึ้นและเสียชีวิต ผู้ที่เป็นโรคเอดส์สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้โดยการมีเพศสัมพันธ์และการถ่ายเลือด
       แนวทางป้องกันและแก้ไขโรคเอดส์
1)      ให้การศึกษาแก่ประชาชนโดยให้การศึกษาให้ความรู้เรื่องโรคเอดส์แก่ประชาชนผ่านสื่อต่าง ๆ
2)      สร้างเสริมระบบครอบครัวให้บุคคลรักครอบครัวไม่สำส่อนทางเพศโดยการจัดระเบียบสังคม
3)      สร้างจิตสำนึกแก่บุคคลในเรื่องการไม่ทำร้ายบุคคลอื่นโดยการแพร่เชื้อเอดส์แก่ผู้อื่น
4)      ให้กำลังใจและสร้างเสริมการช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ผู้ที่เป็นโรคเอดส์ในด้านต่างๆ
เช่น การเงิน  หรือสวัสดิการต่าง
5)      ส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักธรรมศาสนาของตนเองอย่างเคร่งครัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น