วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

6-สังคมไทย


สังคมไทย
1x42.gif
ลักษณะทั่วไปของสังคมไทย
สังคมไทย  หมายถึง  กลุ่มชนชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกันในประเทศไทย  มีขนบธรรมเนียมประเพณีแบบไทย  มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นต่างจากสังคมอื่น  ได้แก่  ภาษาพูด  ภาษาเขียน  การแต่งกาย  ความเชื่อ  มารยาท  อาหาร การดำเนินชีวิตที่มีพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน  เป็นต้น

สถาบันทางสังคมในสังคมไทย

สถาบันทางสังคมไทย  เป็นแบบแผนของพฤติกรรมที่เป็นแนวทางการปฏิบัติของสังคมไทยที่มีกฎเกณฑ์การปฏิบัติ เพื่อสนองความต้องการของสังคมไทย  เป็นที่ยอมรับของประชากรและถือเป็นแนวทางปฏิบัติต่อไปในสังคมไทย
สถาบันที่สำคัญในสังคมไทยเป็นสถาบันพื้นฐานที่สำคัญ  5  สถาบัน  คือ
สถาบันครอบครัว
สถาบันครอบครัวในสังคมไทย  มีลักษณะสำคัญดังนี้
1)      การเริ่มต้นของครอบครัวในสังคมไทย  เริ่มจากการสมรสโดยมีประเพณีการสู่ขอ  การหมั้น  การแต่งงาน มีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย
2)      สังคมไทยในปัจจุบันนิยมการมี  ครอบครัวเดี่ยว  คือ ครอบครัวที่ประกอบด้วยด้วย  พ่อ แม่  ลูกในบ้านเดียวกัน ส่วนสังคมชนบทของไทยยังคงนิยม  ครอบครัวขยาย  คือ  ครอบครัวที่ประกอบด้วย  พ่อ แม่ ลูก และเครือญาติในบ้านเดียวกัน
3)  สถาบันครอบครัวในสังคมไทย  มีค่านิยมให้ผู้ชายเป็นผู้นำครอบครัว  และหาเลี้ยงสมาชิกในครอบครัว  ปัจจุบันผู้หญิงทำงานนอกบ้านมากขึ้น
สถาบันการเมืองการปกครอง
สถาบันการเมืองการปกครองในสังคมไทยมีลักษณะสำคัญคือ
1)      ประชาชนในสังคมไทยนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่
2)      สังคมไทยยกย่องและเทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ
3)      การปกครองของสังคมไทย  คือ  การปกครองระบอบประชาธิปไตย  ระบบรัฐสภา  มีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4)      มีการตื่นตัวทางการเมืองการปกครองแนวใหม่  การจัดการเลือกตั้งแนวใหม่  มีการปฏิรูประบบราชการ  ปฏิรูปการศึกษา  และอื่น ๆ ที่ทำให้สังคมเป็นสากลมากขึ้น
สถาบันทางศาสนา
สถาบันทางศาสนาในสังคมไทยมีลักษณะสำคัญ  คือ
1)      ประชาชนในสังคมไทยนับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่
2)      ชาวไทยมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
3)      ชาวไทยมีวิถีการดำเนินชีวิตโดยได้รับอิทธิพลทางศาสนา  ทำให้มีประเพณีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา
สถาบันการศึกษา
สถาบันการศึกษาในสังคมไทยในอดีต  วัด  และวัง  เป็นแหล่งการเรียนรู้ของชนชาวไทย
ในปัจจุบันสังคมไทยมีการปฏิรูปการศึกษา  และมีการตราพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ง     ชาติ  พ.ศ. 2542   ซึ่งส่งผลให้การศึกษาของสังคมไทยมีการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น
1)      การปฏิรูปการศึกษาของไทย
2)      มุ่งปฏิรูปการศึกษาที่ให้ครูปฏิรูปการเรียนรู้
3)      มีการจัดการศึกษานอกระบบ
4)      ให้ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่เรียนรู้
สถาบันเศรษฐกิจ
สถาบันเศรษฐกิจในสังคมไทย  มีลักษณะสำคัญ  คือ
1)      ระบบเศรษฐกิจของสังคมไทย  เป็นระบบเศรษฐกิจบนพื้นฐานของระบบทุนนิยม  ประชากรมีเสรีภาพในการดำเนินการ ทางเศรษฐกิจและเสรีภาพในการเลือกซื้อสินค้า
2)      ปัจจุบันรัฐบาลได้นำระบบเศรษฐกิจแบบผสมมาดำเนินการ  มีการส่งเสริมปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐาน  เช่น  ไฟฟ้า ประปา  เป็นต้น
3)      มีการนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาจัดการดำเนินการให้เป็นผลผลิตสู่ตลาดในโครงการ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ค่านิยมในสังคม
            ค่านิยม  หมายถึง  สิ่งที่คนในสังคมใดสังคมหนึ่งเห็นว่าเป็นสิ่งที่น่านิยม  น่ากระทำ  น่ายกย่องเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ค่านิยมเป็นสิ่งที่บุคคลในสังคมนั้น ๆ เห็นพ้องต้องกันว่าเป็นสิงที่ควรปฏิบัติหรือไม่ควรปฏิบัติ
            ค่านิยมที่ควรปลูกฝังในสังคมไทย  ได้แก่
1.       การรักชาติ  ศาสนา  พระมหากษัตริย์
2.       ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
3.       ความกตัญญูกตเวที
4.       การนิยมของไทย
5.       การประหยัด
6.       ความซื่อสัตย์สุจริต
7.       การเคารพผู้อาวุโส
1x42.gif
ชาญวิทย์  ปรีชาพาณิชพัฒนา
เสลภูมิพิทยาคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น