วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เรื่องที่ 3 กฎหมายคุมครองสิทธิของบุคคล


เรื่องที่ 3 
กฎหมายคุมครองสิทธิของบุคคล


  • การที่จะสร้างความสงบเรียบร้อยให้ เกิดขึ้นภายในสังคมและประเทศชาตินั้น จำเป็นจะต้องมีการบัญญัติกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ขึ้นมาบังคับใช้ เพื่อให้เกิดเป็นบรรทัดฐาน ของคนในสังคม 
  • หากสังคมใดที่พลเมืองไม่ปฏิบัติ ตามกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ สังคมนั้นก็จะขาด ความสงบสุข แต่ถ้าสังคมใดมีพลเมืองที่ดี ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่คนในสังคม กำหนดไว้
  • สังคมนั้นก็จะเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งกฎเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดที่จะกล่าวถึงในที่นี้ คือ กฎหมาย 
สาระการเรียนรูแกนกลาง
  • ความสำคัญและลักษณะของกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล
  • ประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามกฎหมาย
จุดประสงคการเรียนรู
  • 1. อธิบายความสำคัญและลักษณะของกฎหมายคุ้มครองสิทธิ ของบุคคลได้ 
  • 2. บอกถึงประโยชน์ของการปฏิบัติตนตามกฎหมายคุ้มครองสิทธิ ได้ 

  • กฎหมายคุ้มครองสิทธิสวนบุคคลมีความสำคัญตอการ ดำเนินชีวิตอยางไร 
  • การที่กฎหมายบังคับให้เยาวชนทุกคนต้องเข้ารับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน มีผลดีตอเยาวชนและประเทศชาติอยางไร 
1. ความสำคัญของกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล 
  • สิทธิ หมายถึง สิ่งที่ไม่มีรูปร่างซึ่งมีอยู่ในตัวมนุษย์ตั้งแต่กำเนิดหรืออาจกำหนดขึ้นโดย กฎหมาย ซึ่งมนุษย์ก็จะเป็นผู้เลือกใช้สิทธินั้นเอง ไม่มีใครสามารถมาบังคับได้ นอกจากนั้นสิทธิของแต่ละบุคคลต้องอยู่ในขอบเขตของกฎหมาย โดยจะต้องไม่กระทบต่อ สิทธิของบุคคลอื่น เราสามารถแบ่งขอบเขตสิทธิของบุคคลออกได้เป็นสิทธิของบุคคลขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิในการกิน การนอนและสิทธิที่ได้รับโดยกฎหมายกำหนดให้มี เช่น สิทธิในการมีและใช้ ทรัพย์สิน สิทธิในการร้องทุกข์เมื่อถูกบุคคลอื่นละเมิดสิทธิ เป็นต้น สิทธิที่ได้กล่าวมาข้างต้นทำให้ภาครัฐต้องกำหนดเครื่องมือขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานในการ คุ้มครองสิทธิของบุคคล เรียกว่า “กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล” ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลเป็นเครื่องมือของรัฐที่กำหนดขึ้น เพื่อเป็นมาตรฐานในการให้ ความคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลโดยกฎหมายและเกิดขึ้นเพื่อทำให้สังคมสงบสุข กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลมีความสำคัญต่อประชาชน สังคม และการพัฒนาประเทศ ชาติเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะประชาชนมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และ ประเทศชาติรวมทั้งต่อโลก ดังนั้น หากประชาชนเรียนรู้และเข้าใจในกฎหมายคุ้มครองสิทธิของ บุคคลและสามารถปฏิบัติได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ก็จะส่งผลให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและ ช่วยให้ประเทศชาติพัฒนาไปได้ก้าวหน้าและยั่งยืน

 2. ลักษณะของกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคล 
  • กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลต้องอาศัยการทำงานที่สัมพันธ์กันของฝายนิติบัญญัติ ฝาย บริหาร และฝายตุลาการ โดยฝายนิติบัญญัติจะต้องทำหน้าที่ร่างกฎหมาย ปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติม กฎหมายเข้าสู่รัฐสภา เพื่อให้กฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในด้านต่างๆ มีความทันสมัย ตลอดเวลาตามสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของสังคม
  • ฝายบริหารจะต้องทำหน้าที่บังคับใช้ กฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลอย่างจริงจังและเสมอภาคกับประชาชนทุกชนชั้น
  • และฝาย ตุลาการต้องทำหน้าที่ตัดสินคดีความอันเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอย่าง รวดเร็วและบริสุทธิ์ยุติธรรม เพื่อแก้ไขปญหาและเยียวยาบุคคลที่ได้รับผลกระทบต่อการละเมิด สิทธิของบุคคล
  • ในที่นี้จะขอกล่าวถึงกฎหมายคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลในบางประเด็น เพื่อให้เกิดความรู้ความ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองสิทธิของบุคคลมากยิ่งขึ้น ดังนี้
    • 2.1 กฎหมายเกี่ยวกับเด็ก กฎหมายเกี่ยวกับเด็กในประเทศไทย ปรากฏอยู่ในประมวลกฎหมายหลายฉบับ เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว พระราช- บัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ได้กำหนดหลักการพื้นฐานสำหรับ เด็กที่จะต้องได้รับความคุ้มครองไว้รวม 4 ประการ คือ สิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการพัฒนาส่งเสริม สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง สิทธิที่จะมีส่วนร่วม และได้กำหนดให้องค์กรต่างๆ ของสังคมที่เกี่ยวกับการควบคุมดูแลเด็ก ปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้
      • 1) หน้าที่ของผู้ปกครอง ที่ต้องปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้
        •  1. อุปการะเลี้ยงดู อบรม สั่งสอนและพัฒนาเด็กที่อยู่ในการดูแลของตน การอุปการะ เลี้ยงดูอบรมสั่งสอนและพัฒนา ต้องไม่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง และเหมาะสมกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมแห่งท้องถิ่น
        •  2. คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในการดูแลของตน โดยไม่ให้ตกอยู่ในภาวะเสี่ยง อันตรายต่อสภาพร่างกายและจิตใจ 
        •  3. ไม่ทอดทิ้งเด็ก ผู้ปกครองจะต้องไม่ทอดทิ้งเด็กไว้ในสถานรับเลี้ยงเด็ก สถานพยาบาล สถานที่สาธารณะ หรือสถานที่ใดๆ โดยเจตนาที่จะไม่รับเด็กกลับคืน
        • 4. ไม่จงใจหรือละเลยไม่ให้สิ่งที่จำเป็นแก่การดำรงชีิวิตกับเด็ก เช่น ด้านสุขภาพ อนามัย ปจจัยสี่ เป็นต้น
        • 5. ไม่ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตหรือพัฒนาการของเด็ก 
        •  6. ไม่ปฏิบัติต่อเด็กในลักษณะที่เป็นการเลี้ยงดูโดยมิชอบ
      •  2) หน้าที่ของรัฐ ที่ต้องปฏิบัติต่อเด็ก ดังนี้
        • 1. คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ไม่ว่าเด็กจะมีผู้ปกครองหรือ ไม่มีผู้ปกครองก็ตาม
        • 2. ดูแลและตรวจสอบสถานรับเลี้ยงเด็กต่างๆ เช่น สถานสงเคราะห์เด็ก สถาน คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กและเยาวชน สถานพินิจที่ตั้งอยู่ในเขตอำนาจ เป็นต้น กฎหมายไทยกำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐดำเนินการสงเคราะห์หรือคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ในกรณีต่อไปนี้
          • เด็กที่พึงได้รับการสงเคราะห์
            • เด็กเรรอน หรือเด็กกำพรา
            • เด็กถูกทอดทิ้ง หรือพลัดหลง
            • เด็กที่ไดรับการเลี้ยงดูโดย มิชอบ เชน ถูกทารุณกรรม
            • เด็กที่ผูปกครองไมสามารถ อุปการะเลี้ยงดูได
            • เด็กที่ผูปกครองมีพฤติกรรม หรืออาชีพไมเหมาะสม
            • เด็กพิการ
            • เด็กที่อยูในสภาพ ยากลำบาก
            • เด็กที่อยูในสภาพที่จำเปนจะตองไดรับ การสงเคราะหตามกฎของกระทรวง
  • นอกจากนี้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ยังได้กำหนดมาตรการส่งเสริม ความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาไว้ ดังนี้ 
    • 1.โรงเรียนและสถานศึกษาจะต้องจัด ให้มีระบบงานและกิจกรรมแนะแนวให้คำ ปรึกษาและฝกอบรมแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมความประพฤติที่ เหมาะสม ความรับผิดชอบต่อสังคม และความ ปลอดภัยแก่นักเรียน นักศึกษา
    • 2. นักเรียน นักศึกษา จะต้องประพฤติ ตนตามระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษา หาก ฝาฝน พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจ สามารถนำตัวไปมอบให้ผู้บริหารโรงเรียน หรือสถานศึกษา เพื่อสอบถามและอบรม สั่งสอน หรือลงโทษตามระเบียบต่อไป
    • 2.2 กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาในปจจุบัน ได้แก่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งมีสาระสำคัญที่นักเรียนควรรู้และทำความเข้าใจ ดังนี้
      •  1) จุดมุงหมายและหลักการ เนื่องจากมนุษย์เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่จะมีส่วนพัฒนา สังคมและประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า ดังนั้น การศึกษาจึงมีส่วนสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้คนในชาติ มีความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศต่อไป รัฐจึงต้องลงทุนทางด้านการศึกษา เพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนของชาติขึ้นมาทดแทนผู้ใหญ่ที่จะอ่อนกำลังลงในอนาคต ประเทศชาติจึงต้องทุ่มเทงบ ประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อพัฒนาการ ศึกษา สำหรับการจัดการศึกษาของทุก ประเทศรวมทั้งประเทศไทยมุ่งเน้นให้คนใน สังคมมีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปญญา มีความรู้คู่คุณธรรม และดำรงไว้ ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีของชาติ
      •  2) หน้าที่ของรัฐในการจัดการศึกษา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนดให้รัฐจะต้องดำเนินการทางด้าน การศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน ดังนี้
        •  1. รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ป โดยให้เด็กและเยาวชน ในชาติมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการเข้ารับการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บ ค่าใช้จ่าย 
        •  2. รัฐต้องจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ สำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทาง ร่างกาย จิตใจ สติปญญา อารมณ์ สังคมต้องจัดให้มีการสื่อสารและการเรียนรู้ สำหรับผู้ที่มี ร่างกายพิการ ทุพพลภาพ บุคคลที่ไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ บุคคลไม่มีผู้ดูแล หรือด้อยโอกาส
        •  3) สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาหรือผู้ปกครอง มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคล ซึ่งอยู่ใน ความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวน 9 ป โดยให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปที่เจ็ดเข้าเรียนใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุสิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ ตลอดจน ให้ได้รับการศึกษานอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว
        • 4) รูปแบบการจัดการศึกษา การ จัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาใน ระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษา ตามอัธยาศัย มีรายละเอียด ดังนี้
          •  4.1) การศึกษาในระบบ เป็นการ ศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาการศึกษา การวัดและ ประเมินผลอันเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการ ศึกษาที่แน่นอน ได้แก่ การเรียนการสอนใน โรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งของรัฐและเอกชน
          •  4.2) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผลซึ่งเป็นเงื่อนไข สำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมกับสภาพปญหา และความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม เช่น การศึกษาผู้ใหญ่ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
          •  4.3) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่เปดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพสิ่งแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งเรียนรู้ เช่น การฝกอบรมวิชาชีพของสถาบันแรงงานต่างๆ การอบรมวิชาชีพในสถาบันพัฒนาฝมือแรงงาน การอบรมภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ตาม สถาบันต่างๆ เป็นต้น การจัดการศึกษารูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้น อาจดำเนินการเป็น เอกเทศหรือผสมผสานกัน ทั้งนี้ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถและสามารถพัฒนา ตนเองได้
        •  5) แนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดการศึกษาทุกรูปแบบจะเน้นให้ผู้เรียนมี ความรู้ ความสามารถ และพัฒนาตนเองได้ โดยยึดหลักผู้เรียนสำคัญที่สุด ด้วยเหตุนี้ กระบวนการจัดการเรียนรู้จึงต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและ เต็มศักยภาพ
    • 2.3 กฎหมายคุมครองผูบริโภค กฎหมายคุมครองผูบริโภคเปนกฎหมายที่เกี่ยวกับการดํารงชีวิตของคนในสังคม โดย ทัวไปจะเกี่ยวของกับการบริโภคสินคาและการใชบริการ เชน มนุษยตองบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ตองใชบริการรถประจําทาง รถไฟฟา รวมทั้งบริการอื่นๆ เพื่ออํานวยความสะดวก เชน การใชบัตรเครดิต โทรศัพทมือถือ เปนตน ดังนั้นการบริโภคหรือการใชบริการตางๆ จะ ตองไดมาตรฐานและมีคุณภาพครบถวนตาม ที่ผูผลิตไดโฆษณาแนะนําไว ดวยเหตุนี้ รัฐใน ฐานะผูคุมครองดูแลประชาชน หากพบวา ประชาชน ไดรับความเดือดรอนจากการ บริโภคสินคาและบริการจะตองรีบเขาไปแกไข เยียวยาและชดเชยความเสียหายใหกับ ประชาชน หนวยงานที่คุมครองผูบริโภค มีอยู หลากหลายและกระจายตามประเภทของ การบริโภคสินคาและบริการ เชน 
      • 1. กรณีที่ประชาชนไดรับความเดือดรอนเกี่ยวกับอาหาร ยา หรือเครื่องสําอาง เปนหนาที่ ของสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุขที่ตองเขามาดูแล 
      • 2. กรณีที่ประชาชนไดรับความเดือดรอนเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม ก็เปนหนาที่ของสํานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ตองเขามาดูแล
      • 3. กรณีที่ประชาชนไดรับความเดือดรอนเกี่ยวกับเจาของกิจการธุรกิจจัดสรรที่ดิน อาคารชุด ก็เปนหนาที่ของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยที่ตองเขามาดูแล
      • 4. กรณีที่ประชาชนไดรับความเดือดรอนเกี่ยวกับคุณภาพหรือราคาสินคาอุปโภคบริโภค ก็เปนหนาที่ของกรมการคาภายใน กระทรวงพาณิชย
      • 5. กรณีที่ประชาชนไดรับความเดือดรอนเกี่ยวกับการประกันภัยหรือประกันชีวิตก็เปน หนาที่ของกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย ที่ตองเขามาดูแล 
  • หนวยงานที่ไดกลาวมาขางตน ถือเปนตัวอยางของหนวยงานที่ทําหนาที่คุมครอง ผูบริโภคเฉพาะเรื่องตามที่กฎหมายกําหนดอํานาจหนาที่ในการดูแลความเดือดรอนของ ประชาชนไว 
  • สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 จัดเป็นกฎหมายเฉพาะที่ไม่ซ้ำซ้อน หรือขัดกับอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคในด้านต่างๆ ตามตัวอย่างข้างต้น
  • เพราะหากเกิดกรณีจำเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบมิได้ดำเนินการแก้ไขหรือดำเนินการไม่ครบถ้วน ตามขั้นตอนของกฎหมาย
  • ผู้เดือดร้อนสามารถร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้สั่งการแก้ไขแทนได้
  • เพราะสำนักงานคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วยงานคุ้มครองด้านการบริโภคสินค้าและบริการทั่วไป นอกเหนือจาก การทำงานของหน่วยงานอื่นๆ
  • กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคไว้ 5 ประการคือ
    • 1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้อง และเพียงพอเกี่ยวกับ สินค้าและบริการ เพื่อการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการอย่างถูกต้องทำให้ไม่หลงผิดใน คุณภาพสินค้าหรือบริการ
    • 2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการโดยปราศจากการชักจูงก่อนตัดสินใจ ซื้อสินค้า
    • 3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการสินค้าที่มีคุณภาพและได้ มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีที่ใช้ตาม คำแนะนำของผู้ผลิต
    • 4. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย อันหมายถึง สิทธิจะได้รับการ คุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิผู้บริโภค
    • 5. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรม ในการทำสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริโภค โดยจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ในที่นี้จะขอกล่าวถึงหน้าที่ของผู้บริโภคที่ควรปฏิบัติ คือ
      • 1. ผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควร ในการซื้อสินค้าหรือรับบริการ เช่น ตรวจสอบ ฉลากแสดงราคาและปริมาณ ไม่หลงเชื่อในคำโฆษณาคุณภาพสินค้า โดยพิจารณาให้รอบคอบ
      • 2. การเข้าทำสัญญาผูกมัดกันตามกฎหมาย โดยการลงลายมือชื่อต้องตรวจสอบความ ชัดเจนของภาษาที่ใช้ตามสัญญาให้เข้าใจรัดกุม หรือควรปรึกษาผู้รู้ทางกฎหมายหากไม่เข้าใจ
      • 3. ข้อตกลงต่างๆ ที่ต้องการให้มีผลบังคับใช้ควรทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจด้วย
      • 4. ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บหลักฐานไว้ เพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องค่าเสียหาย
      • 5. เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรดำเนินการร้องเรียนต่อหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องหรือต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
    • 2.4 กฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ให้ความหมายไว้ว่า ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ ผู้เดียวของผู้สร้างสรรค์ผลงานที่จะทำการใดๆ กับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น เช่น การทำซ้ำหรือ ดัดแปลงนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชน นำออกให้ผู้อื่นเช่าต้นฉบับรวมทั้งอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ ลิขสิทธิ์ของตนได้
      •  ตัวอย่าง นายสมชายซื้อหนังสือจากร้านขายหนังสือมา 1 เล่ม นายสมชายย่อมมีสิทธิที่ จะให้ผู้อื่นยืมอ่านหรือขายต่อให้บุคคลอื่น หรือฉีกทำลายบางส่วน บางตอน หรือทั้งเล่มได้เพราะ มีกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ในหนังสือเล่มนั้น
      • แต่หากนายสมชายนำหนังสือเล่มนั้นไปพิมพ์ขึ้นอีก แล้วนำมาจำหน่ายหรือนำข้อความ บางช่วงบางตอนไปพิมพ์เป็นผลงานของตนเอง ย่อมได้ชื่อว่าทำซ้ำผลงานอันมีลิขสิทธิ์โดยมิได้ รับอนุญาต ถือว่ากระทำการอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
      • ลิขสิทธิ์ จัดเป็นทรัพย์สินทางปญญา อย่างหนึ่งในหลายๆ อย่าง โดยผลงานลิขสิทธิ์ ที่เกิดจากการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์จะได้ รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติเครื่องหมาย พ.ศ. 2534 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และพระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 ซึ่งกฎหมายแต่ละฉบับเป็นการคุ้มครอง ผลงานที่มนุษย์ใช้ความสามารถและสติปญญา สร้างสรรค์ขึ้น 
      • ในที่นี้จะกล่าวถึงพระราชบัญญัติ ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ที่ได้กำหนดขอบข่ายงาน ที่มีลิขสิทธิ์ไว้เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจในเบื้องต้น ดังนี้
        •  1) ต้องเป็นงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรคของผู้สร้างสรรค โดยเกิดขึ้นจากความคิด ริเริ่มของตนเอง มิได้ทำซ้ำ หรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น เช่น นายแดง คิดเค้าโครง เรื่องของหนังสือและแต่งหนังสือเล่มนั้นขึ้น โดยมิได้ลอกเลียนผลงานการประพันธ์ของบุคคลใด ย่อมมีลิขสิทธิ์ในหนังสือที่แต่งขึ้นนั้น
        • 2) ต้องเป็นผลงานที่เป็นรูปรางสามารถจับต้องสัมผัสได้ หรือมองเห็นได้ มิใช่เป็นเพียง ความคิดแต่ยังไม่ได้ลงมือทำ
        •  3) ต้องเป็นงานประเภทตางๆ ที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 รวม 9 ประเภท ดังนี้
          •  1. งานวรรณกรรม (Literary Work) ได้แก่ งานแต่งหนังสือ ทำภาพ ประกอบ เป็นต้น
          •  2. งานนาฏกรรม (Pramatic Work) ได้แก่ การคิดท่าเต้น ท่ารำ จินตลีลา ประกอบเพลง การแสดงประกอบเป็นเรื่องราว การแสดงละครใบ้ ปาฐกถา เทศนา สุนทรพจน์ เป็นต้น
          •  3. งานดนตรี (Musical Work) ได้แก่ ผลงานการแต่งเพลง แต่งคำร้อง ทำนอง เรียบเรียงเสียงประสาน เป็นต้น
          •  4. งานศิลปกรรม (Artistic Work) ได้แก่ ผลงานด้านศิลปะ การวาด การปน การให้สี แกะสลัก จิตรกรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ภาพประกอบแผนที่ โครงสร้าง ภาพสามมิติ เป็นต้น
          •  5. งานโสตทัศนศึกษา (Audio Visual Work) ได้แก่ ภาพแผ่นใส ระบบแสง สี เสียง ภาพประกอบเสียง เป็นต้น
          •  6. งานภาพยนตร์ (Cinematographic Work) ได้แก่ ผลงานการสร้างภาพยนตร์ เป็นต้น
          •  7. งานส่งบันทึกเสียง (Sound Recording Work) ได้แก่ เทปบันทึกเสียงรายการ แสดงสด เป็นต้น
          • 8. งานแพร่เสียง แพร่ภาพ (Sound and Video Broadcasting Works) ได้แก่ การกระจายเสียงในวิทยุ หรือโทรทัศน์ รายการที่ออกอากาศ หรือกระจายเสียง ระบบสายเคเบิล การส่งสัญญาณผ่านระบบดาวเทียม เป็นต้น
          •  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะ (any other work in the Literary Scientific or artistic domain)
        • 4) สิทธิของผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ งานอันมีลิขสิทธิ์ทั้ง 9 ประเภทที่ได้กล่าวมาข้างต้น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ให้ความคุ้มครองเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ ผลงาน มีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ ต่อไปนี้
          •  1. ทำซ้ำหรือดัดแปลง หมายถึง คัดลอกไม่ว่าจะเป็นวิธีการใดๆ เลียนแบบทำสำเนา ทำแม่พิมพ์บันทึกเสียง บันทึกภาพหรือทั้งภาพและเสียงจากต้นฉบับ สำเนา หรือจากการโฆษณา ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่ 
          •  2. เผยแพร่ต่อสาธารณชน หมายถึง ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดง บรรยาย บรรเลง ทำให้ปรากฏเสียงหรือภาพ การสร้าง จำหน่าย หรือโดยวิธีอื่นใดกับงานที่จัดทำขึ้น 
          •  3. ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์และ สิ่งบันทึกเสียง
          •  4. อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในงานที่ทำซ้ำ ดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
          •  5) อายุความแหงการคุ้มครองลิขสิทธิ์ คือ ระยะเวลาที่เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์จะห้าม หรือฟองร้องดำเนินคดี เพื่อเอาความผิดแก่บุคคลใด ที่ลอกเลียน ทำซ้ำ หรือทำการใดๆ ที่ เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ให้ต้องได้รับโทษตามกฎหมายลิขสิทธิ์ที่กำหนดไว้ แต่มิได้คุ้มครองงานอัน มีลิขสิทธิ์ตลอดไป การคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์ ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งมีราย ละเอียดปลีกย่อยอีกมากมาย ตัวอย่างเช่น นายเดชกับนายดวง ร่วมกันแต่งหนังสือ 1 เล่ม นายเดชและนายดวง ย่อมมีสิทธิ์ในลิขสิทธิ์ของหนังสือเล่มนั้นร่วมกัน ตลอดอายุของบุคคลทั้งสองเมื่อนายเดช และ นายดวงตายลง ลิขสิทธิ์การแต่งหนังสือเล่มนั้น ก็จะตกแก่ทายาทของนายเดชและนายดวงที่จะมี สิทธิในลิขสิทธิ์นั้นต่อไปอีก 50 ป นับตั้งแต่เจ้าของลิขสิทธิ์ถึงแก่ความตาย หลังจาก 50 ป ดังที่ ได้กล่าวมาแล้ว ลิขสิทธิ์นั้นจึงจะตกเป็นของสาธารณะ โดยที่ใครจะนำไปใช้ได้โดยไม่ต้องได้รับ อนุญาตจากใครทั้งสิ้น เป็นต้น 

3. ประโยชนของการปฏิบัติตนตามกฎหมาย 
  • การปฏิบัติตนตามกฎหมาย ย่อมจะได้ชื่อว่า เป็นพลเมืองดีที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม อันจะทำให้ประเทศเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย การปฏิบัติตนตามกฎหมายเป็นหน้าที่สำคัญ ประการหนึ่งของปวงชนชาวไทย ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยใน ทุกฉบับรวมทั้งฉบับปจจุบัน นอกจากนี้ การปฏิบัติตนตามกฎหมาย ยังมีส่วนในการดูแลตนเอง ด้วยประโยชน์ของการปฏิบัติงานตามกฎหมาย เช่น 
    • 1. ช่วยให้รู้จักระวังตนไม่ให้พลาดพลั้งกระทำความผิดหรือปฏิบัติฝาฝนข้อห้ามที่ กฎหมายกำหนดไว้ เพราะเมื่อบุคคลกระทำการใดๆ ที่ฝาฝนข้อบัญญัติของกฎหมายแล้วจะ อ้างว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้ตนเองพ้นผิดไม่ได้
    •  2. ช่วยปองกันไม่ให้ถูกบุคคลอื่นเอารัดเอาเปรียบ
    •  3. ช่วยให้รัฐบริหารบ้านเมืองไป ได้อย่างราบรื่น เพราะทุกคนปฏิบัติตนตาม กฎหมาย
    •  4. ช่วยให้เกิดประโยชน์ในการ ประกอบอาชีพ เพราะกฎหมายมีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    •  5. ช่วยให้ทุกคนรักษาสิทธิของ ตนเองตามที่กฎหมายไว้เพื่อมิให้ถูกบุคคลอื่น กระทำการอันเป็นการละเมิดก่อความเสียหาย หากได้รับความเสียหาย กฎหมายก็จะช่วย เยี่ยวยาความเสียหายนั้น กล่าวโดยสรุปกฎหมายคุ้มครอง ของบุคคลเป็นเครื่องมือของรัฐเพื่อใช้เป็น มาตรฐานในการให้ความคุ้มครองบุคคลใน สังคม ดังนั้นหากประชาชนปฏิบัติตาม กฎหมายอย่างเคร่งครัดก็จะทำให้สังคมส่วน รวมและประเทศเกิดความเป็นระเบียบ เรียบร้อยและเจริญก้าวหน้าต่อไป







7 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณค่าาาาาา ถูกหมดเลย😉😉😉😉😉

    ตอบลบ
  2. คำตอบ
    1. ถืกเบิด มึงถ่าเบิ่งงงงงงงง ขั่นถืกหละ ซื้อขนมสู่กุกิน

      ลบ
  3. มันดีมากเลยค่ะ สวดยอดจิงๆๆๆๆๆๆๆๆ หามาเพิ่มเยอะๆเลย555😉😉😉😉

    ตอบลบ
  4. คำตอบ
    1. 111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111111

      ลบ