วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การพัฒนาการเรียนรู้

ลักษณะการเรียนรู้


            ในหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียน คือ ต้องเป็นคนดี เป็นคนเก่ง เป็นคนมีความสุข และวางยุทธศาสตร์ กำหนดพันธกิจ ให้พัฒนาผู้เรียน ออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย
1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
2.จิตพิสัย(Affective Domain)
3.ทักษะพิสัย(Psychomotor Domain)

1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)เป็นจุดประสงค์ทางการศึกษาที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทางด้านสติปัญญา คือความรู้ ความเข้าใจ การใช้ความคิด พุทธิพิสัยแบ่งออกเป็น 6ระดับ คือ
  • 1.ความรู้ หมายถึง ความสามารถในการจำแนกเนื้อหาความรู้ และระลึกได้เมื่อต้องการนำมาใช้
  • 2.ความเข้าใจ หมายถึง การเข้าใจความหมายของเนื้อหาสาระ
  • 3.การนำไปใช้ หมายถึง การนำเอาเนื้อหาสาระ หลักการ ความคิดรวบยอด และทฤษฎีต่างๆไปใช้ในรูปแบบใหม่
  • 4.การวิเคราะห์หมายถึง ความสามารถในการแยกเนื้อหาให้เป็นส่วนย่อยเพื่อค้นหาองค์ประกอบ โครงสร้าง หรือความสัมพันธ์ในส่วนย่อยนั้น
  • 5.การสังเคราะห์ หมายถึง ความสามารถที่จะนำองคืประกอบหรือส่วนย่อยๆนั้นเข้ามารวมกันเพื่อให้เป็นภาพที่สมบูรณ์เกิดความกระจ่างใสในสิ่งเหล่านั้น
  • 6.การประเมินค่า หมายถึง ความสามารถในการพิจรณาคุณค่าของสิ่งต่างๆโดยผู้กำหนดตัดสินขึ้นมาเอง

2.จิตพิสัย(Affective Domain) เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับความรู้สึกทางจิตใจ ซึ่งรวมถึงความสนใจ อารมณ์ เจตคติ ค่านิยมและคุณธรรม กระบวนการที่เกิดขึ้นภายในเหล่านี้จะเกิดตามลำดับขั้นตอนดังนี้
  • 1.การรับ คือการที่นักเรียนได้รับประสบการณ์จากสิ่งแวดล้อม
  • 2.การตอบสนอง คือการมีปฎิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมที่รับเข้ามาด้วยความเต็มใจ
  • 3.การเห็นคุณค่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังที่รับรู้สิ่งแวดล้อม และมีปฎิกิริยาโต้ตอบสังเกตได้จากพฤติกรรมที่ยมรับค่านิยมใดค่านิยมหนึ่ง
  • 4.การจัดรวบรวมเป็นการพิจราณา และรวบรวมค่านิยมให้เข้าเป็นระบบค่านิยมหรือสร้างมโนทัศน์ของค่านิยม
  • 5.การพิจรณาคุณลักษณะจากค่านิยม  เป็นเรื่องของความประพฤติ คุณสมบัติ และคุณลักษณะของแต่ละบุคคลที่เป็นผลของความรู้สึก

3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)  เป็นจดประสงค์ ที่เกี่ยวกับทักษะในการเคลื่อนไหว และใช้อวัยวะต่างๆของร่างกายมีลำดับการพัฒนาดังนี้
  • 1.การเลียนแบบ เป็นการทำตามัวอย่างที่ครูให้ หรือดูแบบจากของจริง
  • 2.การทำตามคำบอก เป็นการทำตามตัวอย่างที่ครูให้
  • 3.การทำอย่างถุกต้องเหมาะสม เป็นการกระทำโดยนักเรียนอาศัยความรู้ที่เคยทำมาก่อนแล้วเพิ่มเติม
  • 4.การทำถูกต้องหลากหลายรูปแบบ เป็นการกระทำในเรื่องคล้ายๆกันและแยกรูปแบบได้ถูกต้อง
  • 5.การทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นการทำให้เกิดความชำนาญ และสำเร็จในเวลาที่รวดเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น