วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

แนวทางการเขียนประมวลความรู้

ประมวลความรู้
-----------------------
  • การจัดการความรู้ หมายถึง  การจัดการเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่ โดยใช้ความรู้และประสบการณ์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนที่มีความสามารถสูงหรือมีความได้เปรียบในการแข่งขัน
ความสำคัญในการจัดการความรู้
  • ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สภาพการแข่งขัน สภาพสังคม ความต้องการของสังคม  เทคโนโลยี  ความรู้  ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เรียกว่า Speed base competition ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว และเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้เรียนต้องมีการจัดการความรู้
องค์ประกอบในการจัดการความรู้
  • People    ผู้เรียน
  • Technology เทคโนโลยี นวัตกรรม
  • Knowledge Process กระบวนการจัดการความรู้
ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการความรู้
  • สร้างสมรรถนะให้กับผู้เรียน
  • สร้างนวัตกรรมด้านการเรียน และกระบวนการเรียนรู้
  • เกิดการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี
  • เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
  • ใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  • เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา
  • กระบวนการในการบริหารจัดการความรู้ของผู้เรียนประกอบด้วย การระบุความรู้ การคัดเลือก การรวบรวม  การจัดระบบจัดเก็บความรู้  การเข้าถึงข้อมูล/ ความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอก การเรียนรู้เพื่อยกระดับให้เป็นองค์ความรู้ใหม่ การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ในตนเอง การกำหนดแนววิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการความรู้ในตนเองให้ดียิ่งขึ้น
  • บุุคลแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) หมายถึง  ผู้เรียนที่สามารถปรับเปลี่ยนและค้นหาวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้ตนเองสามารถสร้าง จัดหา ถ่ายทอดความรู้ ในการพัฒนากระบวนการทำงาน การศึกษาเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการศึกษาเรียนรู้ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการทำให้ผู้เรียนมีความกระตือรือล้น ที่จะเรียนรู้หรือแสวงหาองค์ความรู้ที่เหมาะสมใหม่ๆ มาใช้อย่างต่อเนื่อง
ความรู้ มี 2 ประเภท คือ
  • 1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge)  เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลเกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้และความสามารถพิเศษ
  • 2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit  Knowledge)  เป็นความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผลสามารถถ่ายทอด และรวบรวมออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ หนังสือ คู่มือ เอกสารและรายงานต่างๆ ที่มำให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
กรอบแนวคิดในการจัดการความรู้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ
  • 1. แนว Prescriptive เป็นการจัดการความรู้ตามพัฒนาการของการจัดการความรู้ ได้แก่
  • 1. การบ่งชี้ความรู้  (Knowledge Identification)
  • 2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
  • 3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
  • 4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้  (Knowledge Codification and Refinement)
  • 5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
  • 6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
  • 7. การเรียนรู้ (Learning)
  • 8. การประเมินผล
  • 2.แนว Descriptive เป็นการจัดการความรู้ตามปัจจัยหรือสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องการให้สำเร็จ   มีองค์ประกอบ  3 ประการ
    • กำหนดเป้าหมาย หรือสิ่งสำคัญที่องค์กรต้องทำให้สำเร็จ
    • กำหนดปัจจัยสนับสนุนที่จะทำให้การจัดการความรู้ดำเนินการอย่างราบรื่น ได้แก่วัฒนธรรมองค์กร เทคโนโลยี  การสื่อสาร/ โครงสร้างองค์กรที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ การวัดผลการจัดการความรู้
    • การสร้างกระบวนการเปลี่ยนแปลง  ได้แก่  การวางแผน To be vs as is  การออกแบบบทบาทหน้าที่ เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนงาน การนำไปปฏิบัติ การนำร่อง การดำเนินการตามแผน  การขยายผลไปในองค์กร การฝึกอบรมและการเรียนรู้
  • 3.แนวผสมผสาน ระหว่างแนว Prescriptive และแนว Descriptive  กระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย
  • 1. การบ่งชี้ความรู้  (Knowledge Identification)
  • 2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition)
  • 3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)
  • 4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้  (Knowledge Codification and Refinement)
  • 5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
  • 6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
  • 7. การเรียนรู้ (Learning)
สำหรับรายละเอียดของแต่ขั้นตอนในกระบวนการจัดการความรู้    มีดังต่อไปนี้

  • ขั้นตอนที่ 1  “การบ่งชี้ความรู้” (Knowledge Identification) หมายถึง การบ่งชี้ความรู้ที่ผู้เรียนจำเป็นต้องมี วิเคราะห์รูปแบบ และแหล่งความรู้ที่มีอยู่ โดยดูว่าเราต้องมีความรู้เรื่องอะไร และเรามีความรู้เรื่องนั้นแล้วหรือยัง  เพื่อหาว่าความรู้ใดมีความสำคัญสำหรับผู้เรียน จัดลำดับ ความสำคัญของความรู้เหล่านั้น เพื่อให้ผู้เรียนวางขอบเขตของการจัดการความรู้ และสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • ขั้นตอนที่ 2  “การสร้างและแสวงหาความรู้” (Knowledge Creation and Acquisition) หมายถึง การสำรวจ/วิเคราะห์ว่าความรู้ที่เราต้องการรู้นั้นอยู่ที่ใคร อยู่ในรูปแบบอะไร แล้วจะนำมาเก็บรวมกันได้อย่างไรโดยการค้นคว้าจากตำรา อินเตอร์เน็ต จากการสัมภาษณ์ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ จากภายในและภายนอกเพื่อนำมาจัดทำเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ
  • ขั้นตอนทื่ 3  “การจัดความรู้ให้เป็นระบบ” (Knowledge Organization) หมายถึง การนำความรู้ที่รวบรวมมาจัดหมวดหมู่ แบ่งประเภทของความรู้เพื่อจัดทำให้ง่าย เป็นระบบ สะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน
  • ขั้นตอนที่ 4. “การประมวลและกลั่นกรองความรู้”  (Knowledge Codification and Refinement) หมายถึง การนำความรู้นั้นมาจัดทำรูปแบบและ “ภาษา” ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการประมวลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจง่าย และใช้ได้ง่ายพร้อมทั้งเรียบเรียงและปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย เข้าใจง่ายและสมบูรณ์ตรงกับความต้องการของผู้ที่จะเข้ามาศึกษาและค้นคว้า
  • ขั้นตอนที่ 5. “การเข้าถึงความรู้”  (Knowledge Access) หมายถึง การนำความรู้ที่ผ่านการประมวลและกลั่นกรองเรียบร้อยแล้วมาจัดการเผยแพร่เพื่อดูว่าคนในสังคมแห่งการเรียนรู้ สามารถเข้าถึงความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็วและง่ายหรือไม่ และสามารถนำมาใช้ได้ในเวลาที่ต้องการ เช่น การจัดทำเว็บจดหมายเวียน บอร์ดประชาสัมพันธ์  เสียงตามสาย  Intranet ของผู้เรียน
  • ขั้นตอน 6. “การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้” (Knowledge Sharing) หมายถึง การนำความรู้นั้นมาแบ่งปันโดยใช้เครื่องมือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ เช่น การจัดทำเอกสาร   การจัดทำฐานความรู้  ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP) ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน รวมถึงการจัดทำเอกสาร จัดทำฐานความรู้ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จะช่วยให้เข้าถึงความรู้ได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
  • ขั้นตอน 7. “การเรียนรู้” (Learning) หมายถึง  การเรียนรู้โดยมีนัยคือ Learning by doing ว่า ความรู้ที่จำเป็นซึ่งถูกบ่งชี้หรือกำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1 นั้น ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน การตัดสินใจ และนำมาช่วยในการแก้ปัญหา เพื่อปรับปรุงการเรียนให้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง ความรู้นั้นทำให้เกิดประโยชน์กับผู้เรียนหรือไม่ ทำให้ผู้เรียนดีขึ้นหรือไม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น